รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก (ต่อ)

รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก (ต่อ)


สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการออกแบบและการทำงานโครงสร้าง คสล มาฝากเพื่อนๆ กันเกี่ยวกับเรื่อง “รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก” กันอีกครั้งหนึ่งโดยที่ในวันนี้ผมจะพูดเกี่ยวเนื่องกับประเภทของฐานรากที่ใช้เสาเข็มแค่เพียง 1 ต้น หรือ F1 กันบ้างนะครับ

ในโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมได้นำเสนอวิธีการเสริม เหล็กนอน (MAIN REIFORCEMENT STEEL) ในฐานราก F2 F3 F4 และ F5 ที่ได้รับการออกแบบโดย BALANCE METHOD และ STRUT AND TIE METHOD กับเพื่อนๆ ไปแล้ว และ เนื่องจากในฐานราก F1 นั้นพฤติกรรมต่างๆ ของฐานรากจะเกิดไม่ซับซ้อนเหมือนฐานรากประเภทอื่นๆ ผมจึงไม่ได้นำเสนอไว้ในโพสต์ก่อนหน้านี้ แต่ ลักษณะของ F1 นี้จะมีลักษณะเด่นในตัวเองแตกต่างออกไปจากประเภทของฐานรากชนิดอื่นๆ อยู่หลายประการ เช่น ผลของการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มในฐานราก F1 จะส่งผลทางด้านกำลังและเสถียรภาพของตัวฐานรากและตอม่อที่มากกว่าฐานรากประเภทอื่นๆ และ เหล็กเสริมที่จะทำหน้าที่เด่นๆ ในฐานราก F1 จริงๆ แล้วคือตัว เหล็กโอบรัด (CONFINED STEEL) เป็นต้น ผมจึงได้แยกการนำเสนอออกมาเป็นอีกหัวข้อหนึ่งในวันนี้นั่นเองนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมจะขอพูดถึงผลของการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มในฐานราก F1 นั้นจะส่งผลทางด้านกำลังและเสถียรภาพของตัวฐานรากและตอม่อที่มากกว่าฐานรากประเภทอื่นๆ ก่อนนะครับ

เนื่องจากว่าฐานราก F1 นั้นถูกนำมักใช้ก่อสร้างอาคารที่มีขนาดไม่ใหญ่โตมาก เช่น บ้านพักอาศัยที่มีน้ำหนักบรรทุกน้อย เป็นต้น โดยในฐานรากที่มีเสาเข็ม 1 ต้น นั้นเรามักที่จะทำการวางให้เสาเข็มนั้นอยู่ตรงกันกับศูนย์กลางของตำแหน่งตอม่อพอดี แต่ ก็มักจะพบว่าการก่อสร้างฐานราก F1 นี้มีปัญหาอันเนื่องมาจากขั้นตอนในการตอกเข็มนั้นมักที่จะเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปจากตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งจริงๆ แล้วผู้ออกแบบที่มีประสบการณ์ก็มักที่จะนิยมทำการเผื่อเอาไว้สำหรับกรณีไว้ที่ประมาณ 0.10D ถึง 0.20D อยู่แล้วนะครับ ดังนั้นการเยื้องศูนย์ที่พอจะเป็นที่ยอมรับได้ในการทำงานจริงๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละทิศทางของฐานรากนั้นก็ คือ ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของระยะ D นั่นเอง เมื่อ D คือขนาด สผก ของเสาเข็ม โดยถ้าหากว่ามีค่าการเยื้องศูนย์ที่เกินไปจากค่าๆ นี้ก็ต้องทำการคำนวณเพื่อทำการปรับแก้ตัวโครงสร้างของฐานรากและตอม่อเพื่อที่จะให้สามารถต้านทานต่อโมเมนต์ที่เพิ่มขึ้นให้ได้ด้วยนะครับ

ดังนั้นประเด็นๆ นี้ทางผู้ออกแบบมักที่จะเป็นผู้กำหนดและชี้ขาดลงไปในแบบก่อสร้างเลยนะครับว่าระยะเยื้องศูนย์ที่ยอมให้เกิดขึ้นได้ในการตอกเสาเข็ม ณ หน้างานควรเป็นเท่าใด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ควบคุมการทำงานสามารถที่จะทำการควบคุมการตอกเสาเข็มดังกล่าวให้สอดคล้องและเป็นไปตามแบบที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดมาตั้งแต่แรกนั่นเองนะครับ

ในวันพรู่งนี้ผมจะขออนุญาตมาพูดต่อถึงประเด็นว่าเหตุใดเหล็กเสริมที่จะทำหน้าที่เด่นๆ ในฐานราก F1 จริงๆ แล้วคือตัวเหล็กโอบรัด (CONFINED STEEL) กันต่อก็แล้วกันนะครับ หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจในหัวข้อนี้ก็สามารถที่จะติดตามกันได้นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref source:
http://bit.ly/2W6Fy2i

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม

ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
(1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
(2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
(3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สมอ.
(4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
(5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
(6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
(7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
(8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
(9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
(10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
(1) สามารถทำงานในที่แคบได้
(2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
(3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
(4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
(5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
063-889-7987
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449