ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

เนื่องจากมีกรณีๆ จากการทำงานจริงๆ ของผมกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นในการเจาะทดสอบตัวอย่างดิน ณ สถานที่ก่อสร้างแห่งหนึ่งในเขต กทม ของเรานี่เอง ซึ่งผมจึงคิดว่าน่าจะดีกว่าหากผมจะขอแทรกเนื้อหาในวันนี้โดยนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาแชร์และเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ทุกคนในวันนี้ ดังนั้นวันนี้ผมจะขออนุญาตข้ามเนื้อหาตามปกติที่ผมตั้งใจจะนำมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ไปก่อน แล้วเราก็ค่อยมาว่าเนื้อเรื่องๆ นี้กันต่อในสัปดาห์หน้าก็แล้วกันนะครับ

 

โดยที่รายละเอียดของเรื่องๆ นี้มีอยู่ว่า ในสถานที่ก่อสร้างแห่งนี้เดิมทีมีอาคารบ้านเดิมที่ก่อสร้างมาเป็นระยะเวลานานมาแล้วตั้งอยู่ซึ่งก็มีสภาพที่ค่อนข้างจะเก่าและทรุดโทรมมากแล้ว ทางเจ้าของบ้านจึงได้ตัดสินใจที่จะทำการทุบรื้อบ้านหลังเดิมนี้ออกและได้ว่าจ้างให้ผมทำการออกแบบอาคารหลังใหม่บนที่ดินแปลงนี้ให้ โดยการออกแบบสถาปนิกได้กำหนดให้ระดับของพื้นชั้นล่างนั้นอยู่ค่อนข้างสูงขึ้นมาจากระดับพื้นดินภายนอกมากในระดับหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ตอนที่ช่างทำการรื้อบ้านหลังเดิมออกเจ้าของบ้านก็ได้บอกและกำชับกับช่างที่ทำการรื้อว่า ให้นำเอาเศษวัสดุต่างๆ จากตัวบ้านหลังเดิมที่ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ให้นำลงมากองกับพื้นดินเพื่อใช้เป็นวัสดุที่จะทำหน้าที่ถมให้พื้นดินในบริเวณนั้นๆ มีระดับที่สูงขึ้นมา ทำให้ที่พื้นดินเดิมของบริเวณบ้านนั้นเต็มไปด้วยเศษวัสดุก่อสร้างสูงประมาณ 1.00 เมตร ถึง 1.20 เมตร ได้ ครั้นพอผมจะทำการเจาะสำรวจดินปัญหาและอุปสรรคแรกที่ผมจะต้องพบเจอเลยก็คือ บริเวณที่จะต้องทำการเจาะสำรวจนั้นจะต้องเป็นดินเดิมที่ไม่มีเศษวัสดุใดๆ กองทับถมกันอยู่ มิเช่นนั้นอาจจะทำให้ตัวหัวเจาะนั้นเกิดความเสียหายขึ้นได้

 

หากเพื่อนๆ เป็นผมและบังเอิญจะต้องประสบพบเจอเข้ากับเหตุการณ์เช่นนี้ เพื่อนๆ จะตัดสินใจและทำการแก้ปัญหานี้อย่างไรกันดีครับ ?

 

พอผมทำการรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆ แล้ว ผมจึงทำการสรุปปัญหาที่คาดการณ์เอาไว้ว่าจะต้องพบซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ข้อด้วยกัน โดยข้อแรกซึ่งก็เป็นปัญหาข้อที่ 1 ก็คือ ผมจะทำอย่างไรให้ดินในบริเวณที่ต้องการจะทำการเจาะนั้นเป็นดินเดิมให้ได้ มิเช่นนั้นก็จะไม่สามารถทำการเจาะสำรวจดินได้ ผมจึงได้ตัดสินใจทำการแก้ปัญหาในขั้นตอนที่ 1 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ผมได้เลือกตำแหน่งที่ต้องการจะทำการเจาะสำรวจดินและก็ได้ดำเนินการสั่งให้ช่างนั้นทำการขุดเจาะดินในบริเวณนั้นให้มีขนาดความกว้าง ความยาว และ ความลึก โดยประมาณเท่ากับ 1.20 เมตร 1.20 เมตร และ 1.00 เมตร ตามลำดับ โดยที่ผมได้ให้คนงานนำเอาเศษวัสดุที่มีอยู่ในหลุมๆ นี้ออกให้หมดจนเจอแต่ดินที่เป็นดินเดิมจริงๆ โดยที่ผมก็ให้ช่างนั้นกองเก็บเอาเศษวัสดุที่ขุดขึ้นมาได้นั้นให้อยู่ในบริเวณใกล้ๆ กันกับหลุมที่ทำการขุดขึ้นมาด้วย

 

ทีนี้พอเวลาที่ทีมเจาะสำรวจดินนั้นเดินทางมาถึงที่หน้างาน ปัญหาข้อที่ 2 ที่ผมจะต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ หากเราทำการเจาะดินโดยให้ตัวปลอกเหล็กซึ่งจะคอยทำหน้าที่ใส่กระบอกเก็บดิน หรือ STEEL CASING นั้นอยู่ที่ระดับของดินเดิมที่ได้ทำการขุดเอาไว้ ซึ่งระดับดังกล่าวนี้จะอยู่ต่ำกว่าระดับของดินถมถึงประมาณ 1.00 เมตร การทำการเจาะสำรวจดินนั้นอาจจะยังคงสามารถที่จะทำงานได้แต่ก็ค่อนข้างที่จะยุ่งยากเอาเรื่องอยู่ ผมจึงได้ตัดสินใจทำการแก้ปัญหาในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 2 ผมได้ให้ทีมสำรวจนั้นทำการติดตั้งส่วนหัวหมุนน้ำ หรือ WATER SWIVEL โดยที่ส่วนๆ นี้จะอยู่ที่ส่วนด้านบนสุดของตัวปลอกเหล็กซึ่งก็จะถูกสวมผ่านเข้าไปในรูภายในก้านเจาะ หรือ DRILLING ROD ให้เจ้าหัวหมุนน้ำนั้นอยู่ในตำแหน่งความสูงเหนือระดับของดินถมขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเพราะเพียงเท่านี้การสำรวจดินก็จะสามารถทำได้โดยสะดวกและไม่พบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ แล้ว

 

มาถึงปัญหาข้อที่ 3 นั่นก็คือ ตามปกติแล้วที่ผมมักจะสังเกตเห็น ส่วนที่เป็นปลอกเหล็กนั้นจำเป็นที่จะต้องฝังจมอยู่ใต้ดิน หรือ พูดง่ายๆ ก็คือมักจะต้องมีดินที่อยู่ที่บริเวณทางด้านข้างของปลอกเหล็กเสมอเพราะดินเหล่านี้จะคอยทำหน้าที่เป็นตัวประคองทางด้านข้างมิให้เจ้าปลอกเหล็กนี้มีความชะลูดที่มากจนเกินไป โดยผมพิจารณาแล้วว่า ในขณะที่ทีมสำรวจนั้นทำการเจาะดินและหากผมไม่ทำการป้องกันหรือปล่อยให้ปลอกเหล็กนี้มีความชะลูดที่มากจนเกินไป ยิ่งที่ระดับของการสำรวจที่ความลึกของการเจาะนั้นยังไม่มาก หรือ พูดง่ายๆ คือตัวปลอกเหล็กยังไม่ได้มีการฝังตัวอยู่ในดินที่มากเพียงพอ นั่นก็อาจจะทำให้ปลอกเหล็กนั้นมีความอ่อนแอมากจนเกินไป จนในที่สุดก็อาจจะทำให้ปลอกเหล็กนั้นเกิดการวิบัติหรือหักงอได้ เช่น อาจจะเกิดอุบัติเหตุเหล็กปลอกเกิดการล้มพับลงมาได้ เป็นต้น ผมจึงได้ตัดสินใจทำการแก้ปัญหาในขั้นตอนที่ 3 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

ขั้นตอนที่ 3 เริ่มต้นจากการนำเอาปลอกเหล็กใส่ลงไปในชันดินก่อน หลังจากนั้นผมก็ได้ให้คนงานช่วยกันนำเอาเศษวัสดุที่กองเก็บไว้ใกล้ๆ กับหลุมเจาะนี้ใส่ลงไปในหลุมที่ได้ทำการขุดเอาไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เศษวัสดุเหล่านี้คอยทำหน้าที่เป็นตัวประคองทางด้านข้างแก่ปลอกเหล็ก เพื่อให้ตัวปลอกเหล็กนั้นเกิดความมีเสถียรภาพที่มากเพียงพอ จนในที่สุดขั้นตอนของการเจาะสำรวจดินก็สำเร็จและลุล่วงไปได้ด้วยดีตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ตั้งแต่แรกเป็นที่เรียบร้อยครับ

 

ผมอยากที่จะขออนุญาตฝากเอาไว้เป็นข้อคิดดีๆ ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนสักเล็กน้อยในตอนท้ายนี้ว่า จะเห็นได้ว่าในการทำงานทุกๆ อย่างนั้น พวกเรามักจะต้องประสบพบเจอกับปัญหา ไม่ปัญหาเล็กก็ใหญ่ ไม่มากก็น้อย ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่ปกติมากๆ ในการทำงานเลยนะครับ เพียงแต่ว่าหากเรามีความรู้และนำเอาปัญหาต่างๆ เหล่านี้ที่พบมาทำการขบคิดและตัดสินใจทำการแก้ปัญหาที่พบเหล่านี้บนพื้นฐานของหลักการทางด้านวิศวกรรมที่มีความถูกต้องและเหมาะสม ในที่สุดเราก็จะพบแนวทางในการแก้ปัญหาที่ดี อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำงานที่ง่ายดาย มีความประหยัด และที่สำคัญคือจะเกิดความปลอดภัยทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนทำงานก่อสร้างและเจ้าของงานด้วยนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเจาะสำรวจดิน

#อธิบายถึงขั้นตอนในการแก้ปัญหาในการเจาะสำรวจดินจากประสบการณ์จริงของแอดมิน

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com