ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

วันนี้ผมจะมาพูดและให้ความรู้ถึงรายละเอียดต่างๆ และส่วนประกอบรองของโครงสร้างโครงหลังคาที่เป็นโครงข้อหมุนหรือว่า TRUSS STRUCTURE ต่อเนื่องจากเนื้อหาในสัปดาห์ที่แล้วนะครับ

อย่างที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปในครั้งที่แล้วว่าในส่วนของ โครงสร้างส่วนรอง ก็จะได้แก่

(1) โครงสร้างค้ำยันทางด้านข้าง หรือในภาษาอังกฤษเรามักจะเรียกว่า SAG ROD โดยที่โครงสร้างส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการสร้างเสถียรภาพในการรับกำลังให้แก่โครงสร้างแป

ซึ่งตามปกติแล้วเราจะใช้ SAG ROD ค้ำยันโครงสร้างแปเอาไว้ที่ระยะประมาณครึ่งหนึ่งของระยะความยาวช่วงและโดยมากแล้วก็จะใช้ก็ต่อเมื่อโครงสร้างแปของเรานั้นมีความยาวของช่วงและมีการรับน้ำหนักที่ค่อนข้างที่จะมากเพราะหากไม่ใช้ SAG ROD พยุงแปเอาไว้ ก็อาจจะทำให้โครงสร้างแปของเรานั้นเกิดการเสียรูปทั้งทางแนวดิ่งและทางแนวด้านข้างที่จะมากตามไปด้วย ทั้งนี้ SAG ROD จะทำหน้าที่ในการรับแรงดึงซึ่งก็จะเกิดสะสมขึ้นไปมาตามความลาดเอียงของโครงหลังคาโครงข้อหมุนทั้งสองด้าน จนในที่สุดก็จะมีแรงดึงมากที่สุดที่แปตัวบนสุด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีเหล็กเส้นที่จะทำหน้าที่ในการยึดที่สันของโครงหลังคาเพื่อที่จะเชื่อมต่อแรงจากในทั้งสองทิศทางให้ได้ครับ

 

(2) โครงสร้างเกลียวเร่ง หรือในภาษาอังกฤษเรามักจะเรียกว่า TIE ROD โดยที่โครงสร้างส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการสร้างเสถียรภาพในการรับกำลังให้แก่โครงสร้างโครงหลังข้อหมุนหลักและโครงข้อหมุนรอง

สาเหตุที่เราจำเป็นที่จะต้องใช้ TIE ROD นั่นเป็นว่าโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนเหล็กส่วนใหญ่นั้นมักที่จะมีจุดต่อที่มีความแข็งแกร่งหรือว่า STIFFNESS ที่ไม่ได้มากมายอะไรนัก กล่าวคือค่อนข้างที่จะมีความยืดหยุ่นตัวมากๆ ด้วยเหตุนี้เองเราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการการยึดรั้งโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนเหล็กนี้เอาไว้เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความแข็งแรงทางด้านข้างของโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุน ซึ่งโดยมากนั้นเราจะใช้เจ้า TIE ROD นี้เพื่อที่จะทำให้เกิดความตึงระหว่างโครงสร้างและเนื่องจากว่าส่วนใหญ่นั้นเจ้า TIE ROD นี้มักที่จะมีความยาวที่ค่อนข้างจะมาก ดังนั้นเราจึงอาจที่จะใช้ลวดสลิงหรือว่าเหล็กเส้นกลมเพื่อที่จะทำการขึงให้ตึง กล่าวคือเมื่อเจ้า TIE ROD นี้ตึงหรือสามารถที่จะรับแรงดึงได้ เมื่อนั้นเจ้า TIE ROD นี้ถึงจะทำหน้าที่ของมันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นพวกเราจึงมักที่จะใช้อุปกรณ์ในการขันเพื่อทำการเร่งเกลียว หรือ TURNBUCKLE ในการช่วยในการขันให้เจ้า TIE ROD นี้มีความตึง ทั้งนี้หากสังเกตดูจากในรูปก็อาจจะเห็นได้ว่า เราไม่จำเป็นที่จะต้องใส่เจ้า TIE ROD นี้ในทุกๆ ช่วงของโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนเหล็ก นั่นเป็นเพราะหน้าที่ของเจ้า TIE ROD นี้มีเพียงแค่เพิ่มเสถียรภาพและความแข็งแรงของทางด้านของโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนเหล็กเพียงเท่านั้น ดังนั้นเราอาจที่จะทำการยึดรั้งแค่เพียงที่ช่วงหัวและที่ท้ายและก็ช่วงเว้นช่วงของโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนเหล็กดังที่แสดงอยู่ในรูปก็ได้นะครับ

 

(3) โครงสร้างโครงข้อหมุนรอง หรือในภาษาอังกฤษเรามักจะเรียกว่า SUB-TRUSS โดยที่โครงสร้างส่วนนี้จะทำหน้าที่หลักๆ ในการสร้างเสถียรภาพในการรับกำลังให้แก่โครงสร้างโครงหลังคาหลักครับ

จริงๆ แล้วเรื่องนี้ผมเคยเโพสต์ถึงไปสักพักแล้วแต่ก็ไม่เป็นไร ผมจะขอเท้าความย้อนกลับไปสักเล็กน้อยก็แล้วกัน ตามปกติแล้วในโครงถักที่มีขนาดความสูงค่อนข้างที่จะใหญ่หรือมีขนาดของความยาวของช่วงที่ค่อนข้างที่จะมาก พฤติกรรมหลักๆ อย่างหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับโครสร้างเหล็กที่เราควรที่จะต้องทราบและมีความระมัดระวังถึงก็คือเรื่อง การโก่งเดาะ หรือ BUCKLING ดังนั้นในหลายๆ ครั้งเมื่อโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนเหล็กของเรานั้นมีลักษณะเป็นไปตามรายละเอียดที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น เราก็อาจที่จะจำเป็นต้องใส่โครงสร้างโครงข้อหมุนรองเข้าไปเพื่อช่วยทำหน้าที่ในการเพิ่มเสถียรภาพและช่วยในการค้ำยันโครงสร้างโครงข้อหมุนหลักเอาไว้เพื่อไม่ให้เกิดการโก่งเดาะทางด้าน แกนอ่อน หรือ WEAK AXIS ของโครงสร้างโครงข้อหมุนหลักได้นั่นเองครับ

 

ในครั้งหน้าผมน่าที่จะขอพูดถึงเรื่องสุดท้ายแล้วนั่นก็คือ การให้รายละเอียดที่เหมาะสมสำหรับเพื่อใช้เป็นแบบก่อสร้างโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนให้แก่เพื่อนๆ รับทราบกันต่อเป็นโพสต์สุดท้ายของช่วงๆ นี้แล้ว อย่างไรหากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมในเรื่องๆ นี้ได้ในสัปดาห์ถัดไปนะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพุธ
#ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหนือและใต้ดิน
#ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างโครงหลังคาโครงข้อหมุนครั้งที่3

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com