วิธีกำลังในการออกแบบโครงสร้าง คสล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ผมได้โพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง จุดหมุนพลาสติก (PLASTIC HINGED) นะครับ ก็มีเพื่อนของผมท่านหนึ่งได้สอบถามมาด้วยคำถามที่สุดแสนจะคลาสสิคมากๆ คำถามหนึ่งว่า

“ หากผมต้องการที่จะทำการออกแบบโครงสร้าง คสล ให้มีพฤติกรรมนั้นเป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปนั้นผมควรที่จะต้องทำการออกแบบโดย วิธีหน่วยแรงใช้งาน (WORKING STRESS DESIGN METHOD) หรือ วิธีกำลัง (STRENGTH DESIGN METHOD) ดีครับ ? “

จริงๆ คำถามนี้ผมเคยตอบไปนานมากแล้วนะครับ ว่าหากจะให้ผมแนะนำวิธีในการ ออกแบบ โครงสร้าง คสล แก่เพื่อนๆ สัก 1 วิธี ผมก็จะขอแนะนำให้เพื่อนๆ เลือกใช้ วิธีกำลัง ในการ ออกแบบ เพราะว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่เราทำการพิจารณานำเอาค่ากำลังสูงสุดของวัสดุต่างๆ มาใช้ และ ยังเป็นการคำนึงถึงสถานะของโครงสร้างที่เข้าใกล้สภาวะประลัยอีกด้วย แต่ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ผมไม่แนะนำ หรือ บอกให้เพื่อนๆ นั้น ทิ้ง หรือ ไม่ต้องสนใจ วิธีหน่วยแรงใช้งาน ไปนะครับ เพราะว่าวิธีการนี้ก็ยังมีประโยชน์อยู่มาก โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังทำการตรวจสอบสภาวะการใช้งาน เช่น ตรวจสอบค่าการโก่งตัวของโครงสร้าง คสล เป็นต้นนะครับ

แต่สำหรับเรื่อง จุดหมุนพลาสติก นั้นเราไม่สามารถนำ วิธีหน่วยแรงใช้งานมาใช้ในการออกแบบได้จริงๆ นะครับ เพราะ เราต้องไม่ลืมว่า จุดหมุนพลาสติก นั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเหล็กเสริมที่ทำหน้าที่ในการรับแรงดึงนั้นเกิดการคราก (YIELD) ขึ้น ซึ่งสภาวะดังกล่าวจะอยู่ใกล้เคียงกันกับการที่โครงสร้างนั้นเข้าใกล้สภาวะขีดสุด (ULTIMATE STAGE) แล้ว ซึ่งจะมีความสอดคล้องกันกับวิธีการออกแบบตาม วิธีกำลัง มากกว่า วิธีหน่วยแรงใช้งาน

ดังนั้นในวันนี้ผมจึงจะขออนุญาตนำเอา ตย สัก ตย หนึ่งมาทำการสาธิตการคำนวณเพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ดูไปพร้อมๆ กันนะครับ

ผมมีคาน คสล ความกว้างขนาด 200 MM ความลึกขนาด 400 MM โดยที่ค่าแรงดัดใช้งานจากกรณี นน บรรทุกคงที่ๆ ต้องทำการออกแบบจะมีค่าเท่ากับ 6000 KGF-M และ ค่าแรงดัดใช้งานจากกรณี นน บรรทุกจรที่ต้องทำการออกแบบจะมีค่าเท่ากับ 2000 KGF-M โดยจะใช้กำลังอัดประลัยของคอนกรีตรูปทรงกระบอกมาตรฐานที่อายุ 28 วันเท่ากับ 210 KSC และ ใช้เหล็กเสริมชั้นคุณภาพ SD30 ในการก่อสร้าง เราจะมาทำการเปรียบเทียบผลการออกแบบโดยทั้ง 2 วิธีด้วยกันนะครับ

เริ่มต้นด้วยการคำนวณค่าต่างๆ ที่เป็นพื้นฐานในการคำนวณออกแบบคาน คสล นี้เสียก่อนนะครับ

สำหรับ fc’ ≤ 280 KSC
β1 = 0.85

d = 0.85T
d = 0.85×40
d = 34 CM

d’ = T – d
d’ = 40 – 34
d’ = 6 CM

fc = MIN.(65,0.375fc’)
fc = MIN.(65,0.375×210)
fc = MIN.(65,78.75)
fc = 65 KSC

Ec = 15100√fc’
Ec = 15100 √210
Ec = 218820 KSC

fs = MIN.(1500,0.50fy)
fs = MIN.(1500,1500)
fs = 1500 KSC

Es = 2.04×10^(6) KSC

n = Es/Ec
n = 2.04×10^(6)/218820
n ≈ 9

m = fy/0.85fc’
m = 3000/0.85×210 = 16.81

k = 1/(1+fs/nxfc)
k = 1/(1+1500/9×65)
k = 0.281

j = 1 – k/3
j = 1 – 0.281/3
j = 0.906

ต่อมาเพื่อที่จะเป็นการรับประกันว่าหน้าตัดของเรานั้นจะมีรูปแบบการวิบัติเป็นแบบแรงดึงเป็นหลัก (TENSION FAILURE MODE) ผมก็จะขอทำการคำนวณอัตราส่วนของเหล็กเสริมที่สภาวะสมดุล (BALANCE CONDITION) ของหน้าตัดๆ นี้ก่อนนะครับ โดยเราสามารถทำการคำนวณได้จากสมการ

Pb = 6120β/[m(6120+fy)] Pb = 6120×0.85/[16.81(6120+3000)] Pb = 0.0339

มาตรฐาน ACI หรือ EIT นั้นกำหนดให้เราใช้ค่าอัตราส่วนของเหล็กเสริมมากที่สุดในหน้าตัดไม่เกินร้อยละ 75 ของค่าปริมาณเหล็กเสริมที่สภาวะสมดุล ดังนั้น

Pmax = 0.75Pb
Pmax = 0.75×0.0339
Pmax = 0.0254

ดังนั้นค่าปริมาณของเหล็กเสริมมากที่สุดในหน้าตัดจะมีค่าเท่ากับ

As max = Pmax bd
As max = 0.0254x20x34
As max = 17.27 CM^(2)

Ms = M(DL) + M(LL)
Ms = 6000 + 2000
Ms = 8000 KGF-M

Mu = 1.4M(DL) + 1.7M(LL)
Mu = 1.4×6000 + 1.7×2000
Mu = 11800 KGF-M

เราจะมาเริ่มต้นคำนวณหาปริมาณเหล็กเสริมในหน้าตัดโดย วิธีหน่วยแรงใช้งาน กันก่อนนะครับ

Mc = ½ fc j k b d^(2)
Mc = 1/2x65x0.906×0.281x20x34^(2)/100
Mc = 1913 KGF-M < Ms

ดังนั้นหน้าตัดของเราจะเป็นแบบ DOUBLY REINFORCED โดยผลลัพธ์การคำนวณปริมาณเหล็กเสริมจะมีค่าเท่ากับ

As REQ’D = 18.63 CM^(2)
As’ REQ’D = 14.49 CM^(2)

จะเห็นได้ว่าหากทำการคำนวณออกแบบด้วย วิธีหน่วยแรงใช้งาน ปริมาณของ As REQ’D ที่หน้าตัดนั้นต้องการจะมีค่าที่สูงกว่าค่า As max ที่จะทำให้หน้าตัดนั้นมีรูปแบบการวิบัติเป็นแบบแรงดึงเป็นหลัก ดังนั้นหากทำการจัดเหล็กเสริมลงไปจริงๆ แน่นอนว่าปริมาณเหล็กเสริมนั้นย่อมที่จะต้องมีปริมาณที่มากกว่าค่าที่เราทำการคำนวณได้อย่างแน่นอน

เอาละครับ เรามาลองทำการคำนวณตาม วิธีกำลัง กันบ้าง

d REQ’D = √(2 m Mu / (Ø b fy)])
d REQ’D = √(2×16.81x11800x100/(0.90x20x3000)
d REQ’D = 27.11 CM < d = 34 CM

ดังนั้นหน้าตัดของเราจะเป็นแบบ SINGLY REINFORCED โดยผลลัพธ์การคำนวณปริมาณเหล็กเสริมจะมีค่าเท่ากับ

As REQ’D = bd/m (1 – √[1 – 2 m Mu / (Ø b d^(2) fy)])
As REQ’D = 20×34/16.81 x (1 – √[1 – 2×16.81x11800x100 / (0.90x20x34^(2)x3000)])
As REQ’D = 16.03 CM^(2)

จะเห็นได้ว่าหากทำการคำนวณออกแบบด้วย วิธีกำลัง ปริมาณของ As REQ’D ที่หน้าตัดนั้นต้องการจะมีค่าที่ต่ำกว่าค่า As max ที่จะทำให้หน้าตัดนั้นมีรูปแบบการวิบัติเป็นแบบแรงดึงเป็นหลัก

จาก ตย นี้เราจะสามารถทำการสรุปได้ว่า หากเรานำ วิธีหน่วยแรงใช้งาน มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดคาน คสล หน้าตัดคานของเรา ก็จะทำให้หน้าตัดคานของเรานั้นมีความเสี่ยงต่อการที่หน้าตัดนั้นจะมีรูปแบบของการวิบัติที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่เราต้องการได้ และ ในทางกลับกัน หากเรานำ วิธีกำลัง มาใช้ในการออกแบบหน้าตัดคาน คสล หน้าตัดคานของเราก็จะมีโอกาสสูงที่รูปแบบของการวิบัตินั้นจะเป็นไปตามแนวทางที่เราต้องการได้นั่นเองนะครับ

จากผลการคำนวณใน ตย นี้จะเป็นอีกครั้งหนึ่งที่จะชี้ให้เห็นว่า นอกจากในเรื่องของความประหยัดที่มากกว่าแล้ว การคำนวณออกแบบโดย วิธีกำลัง นั้นจะมี ประโยชน์ และ ข้อดี ที่มากกว่าการคำนวณออกแบบโดย วิธีหน่วยแรงใช้งาน ในแง่ของการที่เราจะสามารถทำการ ควบคุม การออกแบบให้หน้าตัดคาน คสล ของเรานั้นมีรูปแบบของการวิบัติที่เป็นไปในทิศทางที่เราต้องการได้อีกด้วยครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com