การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็ม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ

ตามที่ผมได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปในการโพสต์ของเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการคำนวณโดยละเอียด ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการดังกล่าวนี้ย่อมที่จะทำให้เกิดความประหยัดที่มากกว่าวิธีการข้างต้นนี้ค่อนข้างที่จะมากเลยและก็แน่นอนว่า วิธีการนี้ก็ย่อมมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับงานก่อสร้างที่มีการควบคุมการทำงานก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มเป็นอย่างดีนั่นเอง

อีกครั้งหนึ่งก็แล้วกันนั่นก็คือ สำหรับการวิเคราะห์หาค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกประลัยของเสาเข็มกลุ่มเมื่อเสาเข็มนั้นถูกวางตัวอยู่ในชั้นดินเหนียวนั้นจะต้องมีข้อแม้ที่เป็นไปตามที่ผมได้อธิบายไปก่อนหน้านี้นั่นก็คือ ระยะห่างระหว่างโครงสร้างเสาเข็มนั้นควรจะต้องมีการวางตัวห่างกันไม่น้อยกว่า 3 เท่าของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มเอง สำหรับค่า n1 และ n2 ก็คือ จำนวนของเสาเข็มที่อยู่ใน แนวดิ่ง และ แนวราบ ตามทิศทางในแปลนโครงสร้างเสาเข็มภายในโครงสร้างฐานราก ซึ่งผลคูณระหว่างค่าทั้งสองนี้ก็คือ จำนวนของเสาเข็มทั้งหมดที่จะอยู่ในเสาเข็มกลุ่มของเรา ส่วนค่า cu(p) ก็คือค่า UNDRAINED COHESION ของดินเหนียวที่อยู่บริเวณปลายล่างสุดของโครงสร้างเสาเข็ม ค่า Ap ก็คือ พื้นที่หน้าตัดของโครงสร้างเสาเข็ม ส่วนค่า Ab ก็คือ พื้นที่หน้าตัดของบล็อกสี่เหลี่ยมของฐานรากกลุ่มของเราและค่า pg ก็คือ ความยาวของเส้นรอบรูปของบล็อกสี่เหลี่ยมของฐานรากกลุ่มของเรา จากนั้นเราก็จะสามารถที่จะทำการคำนวณค่าต่างๆ ออกมาได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้ครับ

 

(1) เราจะเริ่มต้นทำการคำนวณหาค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่เป็นค่า Q(group)(clay)(1) กันก่อน โดยที่กำลังดังกล่าวนี้จะเป็นกำลังอันเนื่องมาจากกำลังแบกทานหรือ BEARING CAPACITY เป็นหลัก โดยเราจะให้ค่าๆ นี้เป็นค่า Qb รวมกันกับค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเนื่องจากกำลังเสียดทานที่ผิวหรือ SKIN FRICTION CAPACITY เป็นหลัก โดยเราจะให้ค่าๆ นี้เป็นค่า Qf ซึ่งวิธีและหน้าตาของสมการในการคำนวณภายในขั้นตอนนี้จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกับวิธีในการคำนวณจากในโพสต์ที่แล้ว นั่นก็คือ

 

Qb(1) = n1 x n2 x [ 9 x Ap x cu(p) ]

 

และ

 

Qf(1) = n1 x n2 x ∑[ α p cu ΔL ]

 

ดังนั้นจึงทำให้ค่า Q(group)(clay)(1) ของเรานั้นออกมามีค่าเท่ากับ

 

Q(group)(clay)(1) = Qb(1) + Qf(1)

 

(2) ต่อมาก็คือเราจะทำการคำนวณหาค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มที่เป็นค่า Q(group)(clay)(2) โดยที่สมมุติฐานของเราก็คือ เสาเข็มกลุ่มของเราจะมีพฤติกรรมเป็นแบบบล็อกสี่เหลี่ยมนั่นเองนะครับ

 

ดังนั้นถ้าฐานรากกลุ่มของเรานั้นมีขนาดความยาวของกลุ่มฐานรากเท่ากับ Lg มีขนาดความกว้างของกลุ่มฐานรากเท่ากับ Bg และมีขนาดความยาวของเสาเข็มเท่ากับ L ดังนั้นจะทำให้ได้ ค่ากำลังอันเนื่องมาจากกำลังแบกทาน และ ค่ากำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็มเนื่องจากกำลังเสียดทานที่ผิว ออกมาได้เท่ากับ

 

Qb(2) = Ab x qp

 

Qb(2) = (Lg x Bg) x (cu(p) x Nc*)

 

Qb(2) = Lg x Bg x cu(p) x Nc*

 

และ

 

Qf(2) = ∑[ pg x cu ΔL ]

 

Qf(2) = ∑[ 2(Lg + Bg) x cu ΔL ]

 

ดังนั้นจึงทำให้ค่า Q(group)(clay)(2) ของเรานั้นออกมามีค่าเท่ากับ

 

Q(group)(clay)(2) = Qb(2) + Qf(2)

 

จากนั้นพอเรานำเอาทั้งค่า Q(group)(clay)(1) และ Q(group)(clay)(2) ทั้งสองค่านี้มาทำการเปรียบเทียบกัน หากว่าค่าใดค่าหนึ่งที่คำนวณออกมาแล้วมีค่าที่น้อยกว่า ก็ให้ใช้ค่านั้นเป็นค่ากำลังความสามารถในการรับน้ำหนักของเสาเข็มกลุ่มของเรา ดังนั้น

 

Q(group)(clay) = MIN.[ Q(group)(clay)(1) , Q(group)(clay)(2) ]

 

โดยเพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า หากพวกเราทำการคำนวณตามวิธีการในโพสต์ๆ นี้ก็จะถือได้ว่า การคำนวณของเรานั้นมีการให้ค่าสัดส่วนของความปลอดภัยที่มีความเหมาะสมมากๆ ขึ้นกว่าวิธีการคำนวณในโพสต์ที่แล้วค่อนข้างมาก กล่าวคือถึงแม้ว่าการคำนวณของเรานั้นจะมีความ CONSRERVATIVE ที่ลดลงไปมากเพราะวิธีการนี้จะเป็นการที่เราทำการ RELY ค่าความสามารถในการรับกำลังของโครงสร้างเสาเข็มจากทั้ง ค่ากำลังรับแรงจากตัวเสาเข็มเอง หรือค่า Q(group)(clay)(1) และ ค่ากำลังรับแรงจากฐานรากแบบกลุ่ม หรือค่า Q(group)(clay)(2) ด้วยซึ่งก็จะถือว่าวิธีการคำนวณข้างต้นนี้เป็นการคำนวณแบบละเอียด ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการนี้ย่อมที่จะทำให้เกิดความประหยัดค่อนข้างมาก ซึ่งก็จะทำให้วิธีการคำนวณในวันนี้จะมีความเหมาะสมกับงานก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มที่ผู้ออกแบบอย่างเราๆ นั้นจะมีความมั่นใจได้ว่าคุณภาพในการควบคุมการทำงานก่อสร้างโครงสร้างเสาเข็มนั้นจะออกมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างจะดีถึงดีมากเลยน่ะครับ

 

เอาเป็นว่าในครั้งต่อไปที่เราจะมาพบกัน ผมจะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างในการคำนวณหา ค่ากำลังรับแรงแบกทาน ของเสาเข็มกลุ่มเมื่อต้องฝังตัวอยู่ในในดินเหนียว โดยที่ผมจะอาศัยทั้ง วิธีการคำนวณแบบไม่ละเอียด และ วิธีการคำนวณแบบละเอียด หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันพุธ

#ความรู้เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง

#การเลือกใช้งานระบบฐานรากเสาเข็มครั้งที่4

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com