แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันอังคารแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง” นะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบในเรื่องรูปแบบของเสียรูปที่เกิดขึ้นในโครงสร้างแปแบบ หน้าตัดแบบปิด และ หน้าตัดแบบเปิด ที่เกิดจากการวางน้ำหนักบรรทุกให้ “ไม่มี” การเยื้องศูนย์และ “มี” การเยื้องศูนย์ออกไปจากแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัดเพิ่มเติมกันอีกสักหนึ่งโพสต์ โดยที่ผมจะอาศัยรูปประกอบในโพสต์ๆ นี้ซึ่งน่าจะช่วยทำให้เพื่อนๆ ทุกคนๆ นั้นเกิดความเข้าใจถึงสิ่งที่ผมกำลังจะทำการอธิบายได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ดังนั้นเรามาเริ่มต้นดูรูปๆ นี้กันเลยดีกว่านะครับ

 

จากรูปเราจะเห็นได้ว่า ผมหยิบยกเอากรณีของคานช่วงเดียวแบบง่ายหรือ SIMPLE BEAM ที่ต้องทำหน้าที่ในการรับน้ำหนักบรรทุกแบบแผ่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอหรือ UNIFORMLY DISTRIBUTED LOAD ในทิศทางลง โดยเมื่อคานๆ นี้เกิดรับน้ำหนักบรรทุกไปแล้วก็จะเห็นได้ว่าจะเกิด “เส้นซึ่งแสดงค่าการเสียรูป” หรือ “DEFORMED SHAPE” ซึ่งก็คือ “เส้นประสีแดง” ในรูป ซึ่งในรูปๆ นี้จะเป็นรูปที่แสดงถึงรูปแบบของการเสียรูปโดยทั่วๆ ไปของโครงสร้างคานช่วงเดียวแบบง่ายนั่นเองนะครับ

 

ต่อมาผมก็จะทำการแบ่งลักษณะของความ “สมมาตร” และความ “ไม่สมมาตร” ของหน้าตัดและ “แนวของการถ่ายน้ำหนัก” ของโครงสร้างคาน ซึ่งสำหรับหน้าตัดช้างต้นนี้เราก็จะทราบดีว่าจะมีแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดหรือ CENTER OF GRAVITY OF SECTION นั้นอยู่ตรงกันและไม่ตรงกันกับแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัดหรือ SHEAR CENTER OF SECTION ตามลำดับ โดยที่ผมได้ทำการแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 กรณีด้วยกันซึ่งก็ได้แก่

 

กรณีที่ 1 โครงสร้างของคานที่มีหน้าตัดเป็นหน้าตัดแบบที่มีความ “สมมาตร” และแนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดประเภทนี้ตรงกันกับแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

 

ซึ่งหน้าตัดประเภทนี้เราก็จะทราบดีว่าจะมี แนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด นั้นอยู่ตรงกันกับ แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด ดังนั้นหากผมจะให้แนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดประเภทนี้ตรงกันกับแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด นั่นก็จะแสดงให้เห็นว่าแนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดนั้นก็จะยังคงตรงกันกับแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัดด้วย ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลทำให้หน้าตัดคานของเรานั้นจะมีพฤติกรรมการเสียรูปโดยรอบของหน้าตัดเป็นแบบที่ไม่มีการบิดตัวเลยและนั่นก็จะทำให้พฤติกรรมของการเสียรูปของโครงสร้างคานนั้นเกิดความสอดคล้องกันกันกับพฤติกรรมการเสียรูปโดยรอบของหน้าตัดนั่นก็คือ จะเกิดการเสียรูปในทิศทางลง แบบที่ไม่มีการบิดตัวเกิดขึ้นโดยรอบหน้าตัดเลยนั่นเองครับ

 

กรณีที่ 2 โครงสร้างของคานที่มีหน้าตัดเป็นหน้าตัดแบบที่มีความ “ไม่สมมาตร” และแนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดประเภทนี้ตรงกันกับแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

 

ซึ่งหน้าตัดประเภทนี้เราก็จะทราบดีเช่นกันว่าจะมี แนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด นั้นอยู่ไม่ตรงกันกับ แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด ดังนั้นหากผมจะให้ แนวของการถ่ายน้ำหนัก ของหน้าตัดประเภทนี้ตรงกันกับ แนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด นั่นก็จะแสดงให้เห็นว่าหน้าตัดคานของเรานั้นจะมีพฤติกรรมการเสียรูปโดยรอบของหน้าตัดยังคงเป็นแบบที่ไม่มีการบิดตัวหมือนกันกับในกรณีที่ 1 ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้พฤติกรรมของการเสียรูปของโครงสร้างคานนั้นยังคงมีความสอดคล้องกันกันกับพฤติกรรมการเสียรูปโดยรอบของหน้าตัดอยู่นั่นก็คือ จะเกิดการเสียรูปในทิศทางลง แบบที่ไม่มีการบิดตัวเกิดขึ้นโดยรอบหน้าตัดเลยนั่นเองครับ

 

กรณีที่ 3 โครงสร้างของคานที่มีหน้าตัดเป็นหน้าตัดแบบที่มีความ “ไม่สมมาตร” และแนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดประเภทนี้ตรงกันกับแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด

 

สำหรับกรณีที่ 3 ที่แนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดประเภทนี้ตรงกันเฉพาะแค่กับแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด ซึ่งนั่นก็แสดงว่า แนวของการถ่ายน้ำหนักของหน้าตัดประเภทนี้จะเกิดระยะของการเยื้องศูนย์ออกไปจากแนวจุดศูนย์ถ่วงของหน้าตัด นั่นก็จะแสดงให้เห็นว่าหน้าตัดคานของเรานั้นจะมีพฤติกรรมการเสียรูปโดยรอบของหน้าตัดเป็นแบบที่เกิดการบิดตัว ต่างออกไปจากกรณีที่ 1 และ 2 ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้พฤติกรรมของการเสียรูปของโครงสร้างคานนั้นยังคงมีความสอดคล้องกันกันกับพฤติกรรมการเสียรูปโดยรอบของหน้าตัดนั่นก็คือ จะเกิดการเสียรูปในทิศทางลงแบบที่มีการบิดตัวเกิดขึ้นโดยรอบหน้าตัดนั่นเองครับ

 

ดังนั้นผมเชื่อเหลือเกินว่า การที่ผมได้อธิบายถึงตรง ก็คงจะมีเพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนมีคำถามต่อว่า พฤติกรรมของการบิดตัวนี้จะเกิดผลอย่างไรต่อหน้าตัดบ้าง ?

 

ผมจะขอตอบเพียงสั้นๆ ในโพสต์ๆ นี้ก็แล้วกันนะครับว่า การที่เรายอมให้เกิดพฤติกรรมของการบิดตัวขึ้นในหน้าตัด นั่นก็เท่ากับว่าเรายอมให้เกิด แรงบิด หรือ TORSIONAL FORCE หรือ TORQUE ขึ้นในหน้าตัดด้วย ซึ่งเราอาจจะถือได้ว่าพฤติกกรมดังกล่าวนี้เป็นพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ที่วิศวกรผู้ออกแบบอยากที่จะให้เกิดขึ้นในหน้าตัดของเรา นั่นเป็นเพราะนั่นจะเป็นการเพิ่ม ค่าแรงเค้นเฉือนเพิ่มเติม หรือ ADDITIONAL SHEAR STRESS ขึ้นในหน้าตัด ซึ่งหากเราละเลย หรือ เลือกที่จะไม่คำนึงถึงโดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ นั่นก็อาจจะเป็นเหตุให้โครงสร้างคานของเรานั้นเกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมาได้นะครับ

 

เอาเป็นว่าผมจะขอจบหัวข้อนี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน แต่หากว่าผมมีโอกาสที่จะต้องวนกลับมาตอบคำถามข้อนี้ในครั้งต่อๆ ไปที่เราอาจจะได้กลับมาพบกันอีก ผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายและลงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง ค่าแรงเค้นเฉือนเพิ่มเติม นี้กันอีกสักครั้งหนึ่ง โดยหากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจในหัวข้อๆ นี้เป็นพิเศษก็สามารถที่จะติดตามได้ในการพบกันครั้งต่อๆ ไปของเราได้นะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันอังคาร

#ความรู้ที่มีประโยชน์เพื่อคุณผู้หญิง

#ความรู้เรื่องแนวจุดศูนย์กลางของแรงเฉือนของหน้าตัด

#ครั้งที่2

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com