ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG | ภูมิสยามไมโครไพล์

 ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ
BORING LOG micropile เสาเข็มไมโครไพล์
ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาเริ่มต้นทำการให้คำแนะนำและทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ทุกคนให้ได้มีความรู้พื้นฐานรวมไปถึงการทำความรู้จักกันกับวิธีในการคำนวณ ค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินของฐานรากแบบตื้น หรือ BEARING CAPACITY OF SOIL FOR SHALLOW FOUNDATION กันนะครับ

ตามปกติแล้วการคาดคะเนกำลังในการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดินที่ทำหน้าที่ในการรองรับฐานราก แบบตื้น หรือ แบบแผ่ ของอาคารใดๆ ก็ตามแต่ ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกๆ ของการออกแบบฐานรากชนิดนี้เลยนะครับ ซึ่งวิธีในการคาดคะเนค่าๆ นี้สามารถทำได้โดยหลากหลายวิธีการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าเอาไว้ ประกอบกับการใช้ประสบการณ์โดยจะนำค่าพารามิเตอร์ที่ได้จากผลการเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อนำไปใช้คำนวณหาขนาดและรายละเอียดอื่นๆ ของฐานรากตื้นต่อไป ทั้งนี้วิธีการในการทำการคาดคะเนนี้อาจจะทำได้โดยอาศัย 3 แนวทางหลักๆ คือ 

1. การคาดคะเนจากคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของมวลดินโดยตรง

2. การคาดคะเนจากผลการทดสอบมวลดินในสนามโดยตรง

3. การคาดคะเนจากผลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักบรรทุกโดยใช้แผ่นเหล็กในสนามโดยตรง

ซึ่งแต่ละแนวทางข้างต้นถือว่ามีทั้ง ข้อดี และ ข้อเสีย เพราะฉะนั้นวิศวกรธรณีอาจจะเลือกใช้มากกว่า1 วิธีการในการคาดคะเนกำลังในการรับน้ำหนักบรรทุกของมวลดินได้ และ ในเมื่อจริงๆ แล้วฐานรากแบบตื้น คือ ฐานรากที่ต้องสามารถที่จะกระจายน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างผ่านฐานรากลงไปบนชั้นดินที่มีความแข็งแรงพอสมควรในระดับประมาณ 1 เมตร ถึง 3 เมตร จากผิวดิน เมื่อเราอาศัยวิธีการคาดคะเนข้างต้นไปแล้วเราเกิดพบว่า ดินในสถานที่ก่อสร้างของเรานั้นมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ครบถ้วน เราถึงจะทำการตัดสินใจและกำหนดให้ชั้นดินนั้นๆ ของเราสามารถที่จะใช้เป็นฐานรากแบบตื้นได้ โดยที่เงื่อนไขต่างๆ ที่ถือได้ว่าเป็น พื้นฐาน ในการคำนึงถึงนั้นควรที่จะประกอบไปด้วยอย่างน้อย 4 ประการดังต่อไปนี้

1) ชั้นดินที่จะทำหน้าที่รองรับฐานรากแบบตื้นนี้จะต้องมีความแข็งแรงที่เพียงพอ โดยพิจารณาจากค่าการตอก
ทดสอบ หรือ การทำ SPT ที่มีค่า N มากกว่าหรือเท่ากับ 20 ครั้ง/ฟุต หรือ มีค่า qu หรือค่า UCS ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 15 ตัน/ตร.เมตร

2) จะต้องไม่พบว่ามีชั้นดินเหนียวอ่อนที่จะทำให้เกิดการทรุดตัวที่ มาก หรือ ทรุดตัวแตกต่างกัน ระหว่างฐานอยู่ในชั้นดินที่ต่ำกว่าระดับฐานรากลงไปเลย

3) เมื่อตรวจสอบดูแล้วต้องพบว่า ลักษณะการจัดเรียงตัวของชั้นดินที่จะใช้วางฐานรากตื้นนั้นต้องค่อนข้างที่จะมีความสม่ำเสมอดี

4) ชั้นดินที่จะใช้วางฐานรากตื้นนั้นต้องไม่อยู่ในบริเวณที่เป็น ร่องน้ำ หรือ ลำน้ำ ที่อาจจะเกิดการกัดเซาะมากจนต่ำกว่าระดับของฐานรากตื้นได้

ผมต้องขอย้ำอีกสักหนึ่งครั้งนะครับว่า ขั้นตอนในการคำนึงถึงข้างต้นเป็นเพียง พื้นฐาน เท่านั้น เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ จึงควรที่จะเข้าใจไว้ด้วยว่าข้อบ่งชี้ข้างต้นนั้น ไม่ถือว่าเป็นข้อสรุป หรือ หลักการที่ตายตัว สำหรับการเลือกใช้ฐานรากแบบตื้น แต่ หากว่าเงื่อนไขหนึ่งเงื่อนไขใดนั้นไม่เป็นไปตามนี้แล้ว การตัดสินใจที่จะเลือกใช้ฐานรากแบบตื้นบนชั้นดินนั้นๆ จะต้องทำโดยมีความระมัดระวังและจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบการออกแบบที่มากเป็นพิเศษน่ะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์วันพฤหัสบดี 
#ความรู้เกี่ยวกับการเจาะสำรวจดิน 
#เริ่มต้นแนะนำวิธีในการประเมินกำลังการรับน้ำหนักของดินเพื่อใช้วางฐานรากแบบตื้น

ADMIN JAMES DEAN

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449