เพราะเหตุใด เสาเข็มไมโครไพล์ ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการหล่อคอนกรีตโดยการให้แรงเหวี่ยง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตเริ่มต้นทำการพูดถึงประเด็นๆ หนึ่งที่ยังคงค้างมาตั้งแต่ปีที่แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่มีแฟนเพจท่านหนึ่งได้สอบถามผมเข้ามาว่า

 

“อยากที่รบกวนขอให้อาจารย์ช่วยทำการอธิบายให้หน่อยว่าเพราะเหตุใดเสาเข็มไมโครไพล์ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการ “สปัน” เสาเข็มด้วยครับ ?”

 

จริงๆ แล้วคำถามๆ นี้เป็นคำถามที่ดีมากๆ เลย ซึ่งผมก็เคยได้ทำการตอบไปหลายครั้งแล้วเพียงแต่ในแต่ละครั้งที่ผมได้ตอบไปส่วนใหญ่จะเป็นการพูดถึงเรื่องอื่นแล้วก็วกมาตอบในประเด็นๆ นี้ ยังไงวันนี้ผมจะถือโอกาสนี้ตอบให้ชัดๆ ลงไปเลยก็แล้วกันนะครับ

 

ผมคงจะต้องเริ่มต้นทำการพูดถึงหลักการพื้นฐานของการตอกเสาเข็มเสียก่อนนั่นก็คือ การที่เราทำการให้ “พลังงาน” หรือ “ENERGY” แก่โครงสร้างเสาเข็มโดยวิธีการ “ตอก” เสาเข็มลงไปในดิน ซึ่ง “ปริมาณ” ของพลังงานที่เราจะทำการใส่ลงไปในดินนั้นจะมีค่าที่ มาก หรือ น้อย ก็จะขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ขนาดและความยาวของเสาเข็มที่ต้องการที่จะใช้ กำลังความสามารถของเสาเข็มที่ต้องการที่จะให้รับน้ำหนัก ความหลวมหรือแน่นตัวของดินที่จะทำการตอกเสาเข็ม เป็นต้นครับ

 

ดังนั้นเมื่อเรามาดูจากหลักการพื้นฐานที่ผมได้กล่าวถึงไปแล้วข้างต้นในเรื่องของพลังงาน เราก็จะพบว่าค่าพลังงานที่เราจะได้จากการตอกเสาเข็ม 1 ครั้งนั้นจะเกิดจากการที่สามเทอมหลักๆ นั้นคูณกันออกมานั่นก็คือ เทอมค่าการสูญเสียพลังงานจากปัจจัยต่างๆ ในการตอกเสาเข็ม เทอมน้ำหนักของตัวตุ้ม และ เทอมระยะยกของตัวตุ่มที่ใช้ในการตอก หรือเขียนง่ายๆ ได้ว่าค่าของพลังงานที่จะได้รับจากการตอกเสาเข็ม 1 ครั้งนั้นจะมีค่าเท่ากับ

 

E = e W H

 

สุดท้ายแล้วค่าผลรวมของพลังงานที่จะต้องใช้ในการตอกเสาเข็ม 1 ต้นนั้นก็จะมีค่าเท่ากับ

 

∑E = N E

 

ค่า E ก็คือเทอมของค่าพลังงานที่ได้จากการตอกเสาเข็มจำนวน 1 ครั้ง

 

ค่า e ก็คือ เทอมค่าการสูญเสียพลังงานจากปัจจัยต่างๆ ในการตอกเสาเข็ม

 

ค่า W ก็คือ เทอมน้ำหนักของตัวตุ้มที่ใช้ในการตอกเสาเข็ม

 

ค่า H ก็คือ เทอมระยะยกของตัวตุ้มที่ใช้ในการตอกเสาเข็ม

 

ค่า N ก็คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่เราใช้ในการตอกเสาเข็มจำนวน 1 ต้น

 

ค่า ∑E ก็คือเทอมของค่าพลังงานทั้งหมดที่ได้จากการตอกเสาเข็มจำนวน 1 ต้น

 

สำหรับขั้นตอนของการก่อสร้างและการนำเสาเข็มไมโครไพล์ลงไปในดินนั้นก็จะอาศัยกระบวนการในการ “ตอก” เสาเข็มเช่นเดียวกันกับที่ผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้น ทั้งนี้ความแตกต่างระหว่างการก่อสร้างด้วยเสาเข็มระบบปกติกับระบบเสาเข็มไมโครไพล์ก็คือ เราจะอาศัยปั้นจั่นที่มีขนาดเล็กกว่าขนาดปั้นจั่นปกติเพราะฉะนั้นเมื่อ W ที่ใช้ในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์นั้นจะมีขนาดที่น้อยกว่าเสาเข็มปกติเพราะฉะนั้นหากว่าผมให้ค่า Wnp คือค่า น้ำหนักของตุ้มของเสาเข็มปกติและผมให้ค่า Wmp คือค่า น้ำหนักของตุ้มของเสาเข็มไมโครไพล์ เราก็อาจจะเขียนสรุปได้ง่ายๆ ว่า

 

Wmp <<< Wnp

 

จากสมการๆ นี้ก็จะสื่อความหมายออกมาได้ว่า เพื่อให้ผลรวมของค่าพลังงานนั้นยังคงออกมาเทียบเท่ากันเราจะต้องอาศัยจำนวนครั้งหรือค่า N ในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ที่มากกว่าเสาเข็มปกติเพราะฉะนั้นหากว่าผมให้ค่า Nnp คือค่า จำนวนครั้งในการตอกของตุ้มของเสาเข็มปกติและผมให้ค่า Nmp คือค่า จำนวนครั้งในการตอกของตุ้มของเสาเข็มไมโครไพล์ เราก็อาจจะเขียนสรุปได้ง่ายๆ เช่นกันว่า

 

Nmp >>> Nnp

 

ส่วนค่า Nmp นั้นจะมีค่าที่มากกว่า Nnp มากหรือน้อยเพียงใดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่นกัน เช่น ระยะที่ใช้ในการยกปั้นจั่นที่ใช้ในการตอกเสาเข็ม อุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะใช้ประกอบในการตอกเสาเข็ม เป็นต้น ดังนั้นเมื่อโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ของเราจำเป็นที่จะต้องได้รับจำนวนครั้งในการตอกที่มากกว่าเสาเข็มทั่วๆ ไป หากว่าโครงสร้างเสาเข็มไมโครไพล์ของเราไม่มีความแข็งแกร่งที่มากเพียงพอ นั่นก็จะอาจที่จะส่งผลทำให้เสาเข็มของเรานั้นได้รับความบอบช้ำหรือเสียหายจากการถูกตอกแบบซ้ำไปซ้ำมาด้วยจำนวนของการตอกที่มากกว่าเสาเข็มปกติได้นั่นเองครับ

 

นี่เองคือเหตุผลหลักๆ เลยว่าเพราะเหตุใดเสาเข็มไมโครไพล์ของภูมิสยามจึงอาศัยกระบวนการในการ “สปัน” หรือ การทำให้เกิด “แรงเหวี่ยง” ในขณะที่เราทำการหล่อคอนกรีตเพราะว่าในขั้นตอนนี้จะเป็นการเสริมสร้างทำให้เสาเข็มไมโครไพล์ของเรานั้นมีความแข็งแกร่งมากกว่าเสาเข็มที่หล่อด้วยขั้นตอนของการเทตามปกติและนี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ “เสาเข็มสปันไมโครไพล์” ที่พวกเราภาคภูมิใจที่จะนำเสนอและบริการให้แก่ลูกค้าทุกๆ ท่านนั่นเองครับ

 

ยังไงในครั้งต่อไปที่เราจะได้มาพบกัน หากใครเคยนึกหรือมีข้อสงสัยว่า ระหว่างระบบโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์ VS ระบบโครงสร้างเสาเข็มเจาะ นั้นจะมี ข้อดี และ ข้อด้อย ที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ก็อย่าลืมติดตามอ่านบทความของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์วันพฤหัสบดี

#ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมงานฐานรากและเสาเข็ม

#ตอบคำถามเรื่องเพราะเหตุใดเสาเข็มไมโครไพล์ของภูมิสยามจึงจะต้องอาศัยกระบวนการในการหล่อคอนกรีตโดยการให้แรงเหวี่ยง

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com