วิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากเมื่อช่วงสองถึงสามสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการโพสต์คลิปเพื่อแสดงวิธีในการแก้ปัญหาข้อที่ 6.14 ซึ่งเป็นปัญหาท้ายบทที่ 6 จากหนังสือ DYNAMICS OF STRUCTURES เขียนโดย ANIL K. CHOPRA ซึ่งหนังสือเล่มนี้ที่ผมเลือกนำมาใช้จะเป็นหนังสือฉบับ EDITION ที่ 3 นะครับ

 

เมื่อเดือนที่แล้วที่ผมได้ทำการโพสต์คลิปเพื่อแสดงวิธีในการแก้ปัญหาข้อที่ 6.11 6.12 และ 6.13 ซึ่งเป็นปัญหาท้ายบทที่ 6 จากหนังสือ DYNAMICS OF STRUCTURES เขียนโดย ANIL K. CHOPRA และหากเพื่อนๆ จำได้ ผมได้ทำการอธิบายเอาไว้ว่าสิ่งที่เราเรียนรู้ได้การกแก้ปัญหาในข้อที่ 6.11 6.12 และ 6.13 ก็คือ ประเด็นในเรื่องความสัมพันธ์ของค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารหรือค่า NATURAL PERIOD กับค่าความเร่งจากเสปคตรัมการออกแบบหรือค่า PSUEDO ACCELERATION ว่าทั้งสองค่านี้จะอยู่ในช่วงที่เป็นแบบใด ดังนั้นในวันนี้ผมจึงจะขอมาทำการยกตัวอย่างถึงกรณีจริงๆ ของเสปคตรัมการออกแบบ ซึ่งผมได้หยิบยกนำเอาเสปคตรัมการออกแบบของจังหวัดเชียงใหม่มาใช้เพื่อเป็นตัวอย่างในวันนี้นะครับ

หากเพื่อนๆ ดูในรูปที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ก็จะพบว่า หากผมทำการคำนวณหาค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารแล้วพบว่า อาคารของเรานั้นมีค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารอยู่ตั้งแต่ 0.00 ถึง 0.10 วินาที นั่นก็แสดงว่า เราจะต้องทำการคำนวณหาค่าความเร่งจากเสปคตรัมการออกแบบก็จะอยู่ในช่วงที่ไม่คงที่แบบที่มีการเพิ่มค่ามากขึ้นหรือ VARYING-INCREASED ACCELERATION เมื่อระยะเวลามีค่ามากขึ้นด้วยนะครับ

 

ต่อมา หากว่าผมทำการคำนวณหาค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารแล้วพบว่า อาคารของเรานั้นมีค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารอยู่ตั้งแต่ 0.10 ถึง 0.40 วินาที นั่นก็แสดงว่า เราจะต้องทำการคำนวณหาค่าความเร่งจากเสปคตรัมการออกแบบก็จะอยู่ในช่วงที่คงที่หรือ CONSTANT ACCELERATION เมื่อระยะเวลามีค่ามากขึ้นด้วยนะครับ

 

สุดท้าย หากว่าผมทำการคำนวณหาค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารแล้วพบว่า อาคารของเรานั้นมีค่าคาบการสั่นธรรมชาติของตัวอาคารอยู่ตั้งแต่ 0.40 วินาที เป็นต้นไป นั่นก็แสดงว่า เราจะต้องทำการคำนวณหาค่าความเร่งจากเสปคตรัมการออกแบบก็จะอยู่ในช่วงที่ไม่คงที่แบบที่มีการลดค่าลง VARYING-DECREASED ACCELERATION เมื่อระยะเวลามีค่ามากขึ้นด้วยนะครับ

 

ผมหวังว่าจากตัวอย่างที่ผมได้นำเอามาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ จะช่วยทำให้เพื่อนๆ ได้มีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของการที่ผมมักจะพูดและเน้นย้ำอยู่เสมอกับลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานของผมว่า ภายหลังจากที่ทางผู้ออกแบบอาคารได้ทำการกำหนดรายละเอียดต่างๆ ลงไปในแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและในขณะที่ทำการก่อสร้างนั้น การที่อยู่ๆ เราจะเลือกก่อสร้างทำให้มีองค์อาคารส่วนหนึ่งส่วนใดที่นอกเหนือไปจากแบบวิศวกรรมโครงสร้างเดิมที่ได้กำหนดมาตั้งแต่แรกนั้นเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้อาคารของเรานั้นมีค่าความแข็งแกร่งในการรับแรงทางแนวราบที่มากยิ่งขึ้นจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ ดูจะไม่ใช่ความคิดที่ดีเสมอไป อย่างน้อยเราควรที่จะทำการแจ้งเหตุผลดังกล่าวให้แก่ทางคณะผู้ออกแบบได้ทราบเสียก่อนเพราะแน่นอนว่าการเพิ่มค่าความแข็งแกร่งในการรับแรงทางแนวราบนั้นจะส่งผลโดยตรงทำให้ค่าของการเสียรูปทางแนวราบของอาคารนั้นมีค่าที่ลดลงไป ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่เช่นนั้นเสมอไป ในทางกลับกันก็อาจจะเป็นการเพิ่มค่าความเร่งของพื้นดินให้กับตัวโครงสร้างของอาคารได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ที่ทราบดีที่สุดก็คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างของอาคารหลังนั้นๆ เพียงผู้เดียวนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

#โพสต์ของวันศุกร์

#ความรู้เรื่องวิศวกรรมการคำนวณ

#การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์

#ยกตัวอย่างการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงพลศาสตร์ข้อที่หกจุดหนึ่งหนึ่งถึงหกจุดหนึ่งสามในเอดิชั่นที่3

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com