ค่าสปริงของดินสำหรับนำไปสร้างแบบจำลอง โครงสร้างและความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ

เนื่องจากเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเอาบทความที่เขียนโดยท่านอาจารย์ ดร.พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล ผู้เขียนหนังสือ “คู่มือวิศวกรรมฐานราก” เอามาฝาก ซึ่งบทความๆ นี้จะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง “ค่าสปริง (K) ของดินสำหรับนำไปใช้ใน STRUCTURAL MODEL และความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ ซึ่งผมก็ได้อธิบายเพิ่มเติมไปว่า เมื่อเราพูดถึงเกี่ยวกับเรื่อง INTERACTION ระหว่าง SOIL-PILE ผมมักจะพูดอยู่เสมอว่าเพื่อนๆ ควรที่จะต้องมีความรู้และความเข้าใจให้ลึกซึ้งเสียก่อนที่จะนำเอาไปใช้ เช่น นอกจากดูค่า qall แล้วยังต้องดูค่าอื่นๆ ร่วมด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นค่า WATER CONTENT ของดินที่เหมาะสมซึ่งจะเป็นการ ENSURE ในเรื่องของค่า ALLOWABLE SETTLEMENT ที่เราจะนำมาใช้ในการคำนวณหาเป็นค่า SOIL SPRING ด้วย เป็นต้น ซึ่งก็มีเพื่อนๆ ของผมหลายคนเลยสอบถามเข้ามาว่า แล้ว ค่าการทรุดตัวมากที่สุด หรือ MAXIMUM SETTLEMENT ที่ควรใช้เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณหาค่า K ควรจะใช้เท่ากับเท่าใดจึงจะเหมาะสม ?

คำตอบของผมคือ “ไม่อาจทราบได้” ถูกต้องแล้ว เพื่อนๆ ไมได้อ่านผิดไป เราไม่มีทางที่จะทำการตอบได้อย่างแม่นยำ 100% ว่าดินที่ทำหน้าที่ในการรองรับโครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นจะมีค่าการทรุดตัวมากที่สุดเท่ากับเท่าใดได้ ยิ่งเป็นกรณีที่ไม่มีผลการทดสอบดินด้วยยิ่งแล้วใหญ่เลย แต่ หากว่ามีผลการทดสอบดินประกอบการตัดสินใจด้วย เราก็อาจจะสามารถทำการประมาณการค่านี้ออกมาได้อยู่ ทั้งนี้สาเหตุที่ผมใช้คำว่า “ประมาณการ” นั่นเป็นเพราะว่า ค่าการทรุดตัวในดินนั้นเป็นค่าที่จะขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์หลายๆ ตัวมากๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยากลำบากมากๆ ในการที่เรานั้นจะทำการคำนวณหาค่าการทรุดตัวที่มีอัตราความถูกต้องสูงหรือพูดง่ายๆ คือ มีความแม่นยำสูงออกมาได้น่ะครับ

เอาละ กลับมาที่การประมาณการค่าการทรุดตัวของดินกันต่อนะ หากเพื่อนๆ ยังพอจำกันได้ ก่อนหน้านี้ผมเคยได้ทำการอธิบายไปแล้วถึง ค่าความลึกของเสาเข็ม ที่มีความเหมาะสมที่จะใช้เพื่อให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นสามารถที่จะรับน้ำหนักได้ดีโดยที่ไม่เกิดการทรุดตัวที่มากจนเกินไป ดังนั้นข้อแม้ของการประมาณการว่าค่าการทรุดตัวนั้นจะมีค่าเท่ากับเท่าใดก็คือ เราจะต้องกำหนดให้โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นวางตัวอยู่บนชั้นดินที่ตรงตามหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตามที่ผมเคยได้อธิบายไปก่อนหน้า โดยที่ค่าการทรุดตัวน้อยที่สุดที่ผมจะขออนุญาตแนะนำให้ใช้คือ ไม่ควรน้อยกว่า 10 มม หรือ 1.00 ซม ส่วนค่าการทรุดตัวมากที่สุดที่ผมจะขออนุญาตแนะนำให้ใช้ก็คือ ไม่ควรมากกว่า 25 มม หรือ 2.50 ซม ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วหากเพื่อนๆ ท่านใดที่อยากจะใช้ค่าการทรุดตัวที่สูงกว่าค่าๆ นี้ก็ไม่เป็นอะไรนะเพราะต้องไม่ลืมว่าค่า K ก็คือค่า SAFEL LOAD หารด้วยค่า SETTLEMENT ดังนั้นยิ่งค่าที่เรานำมาใช้ในการหารมีค่ามากเท่าใดก็ยิ่งทำให้ค่า K ของเรานั้นออกมาต่ำมากเท่านั้น ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มความ CONSERVATIVE ให้กับการวิเคราะห์โครงสร้างเสาเข็มของเราแต่สาเหตุที่ผมได้แจ้งกับเพื่อนๆ ไปว่า ไม่จำเป็นต้องใช้มากกว่าค่าๆ นี้นั่นเป็นเพราะว่า เราได้ทำการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงคุณสมบัติต่างๆ ของชั้นดินจากผลการทดสอบดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นโอกาสที่ดินจะมีค่าการทรุดตัวที่สูงกว่าค่าที่ผมได้แนะนำไปจึงเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้น้อยมากๆ เลยครับ

อย่างไรก็ดีผมต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ดร.พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล อีกสักครั้งหนึ่ง ที่ท่านได้ให้ความกรุณาเขียนบทความดีๆ แบบนี้มาแชร์ให้พวกเราได้อ่านเป็นวิทยาทานและเราก็ได้มีหัวข้อที่น่าสนใจนี้มาเพื่อที่จะใช้ในการถกกันในเชิงของวิชาการด้วยน่ะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ค่าสปริงของดินสำหรับนำไปสร้างแบบจำลองโครงสร้างและความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com