โครงสร้างโครงถักเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากมีน้องวิศวกรท่านหนึ่งได้สอบถามผมมาหลังไมค์ว่า “ในการออกแบบโครงสร้างโครงถักเหล็ก โครงสร้างที่เป็น BOTTOM CHORD ซึ่งทำหน้าที่ในการเป็น TENSION MEMBER ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING เนื่องจากการ OUT OF PLANE ก็คือค่า kL/r = 300 ใช่ หรือ ไม่ ครับ ?”

ก่อนที่ผมจะตอบ ผมอยากจะขออนุญาตชมเชยน้องท่านนี้ก่อนแล้วกันนะครับ เพราะ ประเด็นๆ นี้ยังมีเพื่อนๆ อีกหลายๆ คนอาจจะยังไม่มีความรู้ หรือ อาจจะยังเข้าใจเช่นกันนะครับ ก็เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามในประเด็นๆ นี้ให้กับน้องวิศวกรท่านนี้และเพื่อนๆ ทุกๆ คนก็แล้วกันนะครับ

เราคงต้องย้อนกลับไปดูเรื่องพื้นฐานในการออกแบบโครงสร้างเหล็กกันเสียก่อนนะครับ ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING เนื่องจากการ OUT OF PLANE ของชิ้นส่วนโครงสร้างรับ แรงอัด คือค่า kL/r = 200 และ ข้อจำกัดในการคำนวณค่าความยาวจากการคำนวณค่า BUCKLING เนื่องจากการ OUT OF PLANE ของชิ้นส่วนโครงสร้างรับ แรงดึง คือค่า kL/r = 300 ซึ่งคำตอบที่ผมตอบกับน้องท่านนี้ไปในเบื้องต้น คือ เมื่อผมต้องทำการออกแบบโครงถักเหล็กเมื่อใด ผมก็จะทำการคำนวณด้วยวิธีการโดยประมาณด้วยการใช้ค่า kL/r = 250 ครับ เพราะว่าค่าๆ นี้ก็คือค่าเฉลี่ยระหว่าง 200 ถึง 300 นะครับ

kL/r (average) = (200+300)/2 = 250

พอผมอธิบายแบบนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะมีความสงสัยว่าเพราะสาเหตุใดว่าผมจึงอาศัยวิธีการโดยประมาณในการคำนวณ โดยที่ใช้ค่า kL/r = 250 ซึ่งจะมีค่ามากกว่า 200 แต่ ก็ยังไม่เกิน 300 เรามาดูรูปที่ผมได้แนบมาในโพสต์ๆ นี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ

เริ่มจากรูปบนก่อนนะครับ หากว่าโครงสร้างโครงถักของเรานั้นเป็นช่วงเดียว (SIMPLE SPAN TRUSS) หากเราดูแผนภาพแรงดัดจะพบได้ว่าในแผนภาพแรงดัดนั้นจะมีแต่โมเมนต์แบบ บวก ซึ่งนั่นหมายความว่าในทุกๆ ชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD จะต้องรับ แรงอัด ทั้งหมด และ ในทุกๆ ชิ้นส่วนที่เป็น BOTTOM CHORD จะต้องรับ แรงดึง ซึ่งตามปกตินั้นในโครงถักของเราจะต้องมี แป ที่จะทำหน้าที่ในการยึดรั้งที่ด้านบนในส่วนที่เป็น TOP CHORD อยู่แล้วนะครับ

ดังนั้นการคำนวณเรื่อง LATERAL BRACING สำหรับกรณีก็จะเหลือเพียงแค่ชิ้นส่วน BOTTOM CHORD ที่ทำหน้าที่เป็น TENSION MEMBER ซึ่งหากเราก็จะทำการคำนวณค่า kL/r เพียงแค่ 300 ก็เพียงพอแล้วนะครับ โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำค่า kL/r = 200 ซึ่งเป็นข้อจำกัดของชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เป็น COMPRESSION MEMBER มาใช้เลยนะครับ เพราะฉะนั้นการที่เราใช้ค่า kL/r = 250 สำหรับกรณีนี้ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มความ CONSERVATIVE ให้กับการออกแบบของเราด้วยนะครับ

เรามาดูรุปล่างกันต่อนะครับ หากว่าโครงสร้างโครงถักของเรานั้นเป็นช่วงที่มีความต่อเนื่อง (CONTINUOUS SPAN TRUSS) หากเราดูแผนภาพแรงดัดจะพบได้ว่าในแผนภาพแรงดัดนั้นจะมีทั้งโมเมนต์แบบ บวก ซึ่งนั่นหมายความว่าหากเราพิจารณาเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD ชิ้นส่วนๆ ใหญ่นั้นจะทำหน้าที่รับ แรงอัด และ ชิ้นส่วนๆ น้อยจะทำหน้าที่รับ แรงดึง ซึ่งก็จะเหมือนกับกรณีของรูปบนที่ตามปกติในโครงถักนั้นจะต้องมี แป ที่จะทำหน้าที่ในการยึดรั้งที่ด้านบนในส่วนที่เป็น TOP CHORD อยู่แล้วนะครับ ดังนั้นเราก็จะสามารถตัดประเด็นในเรื่องของการคำนวณชิ้นส่วนที่เป็น TOP CHORD ไปได้เลยนะครับ

ต่อมาหากเราพิจารณาเฉพาะชิ้นส่วนที่เป็น BOTTOM CHORD กันบ้างซึ่งชิ้นส่วนๆ ใหญ่นั้นจะทำหน้าที่รับ แรงดึง และ ชิ้นส่วนๆ น้อยจะทำหน้าที่รับ แรงอัด ซึ่งกรณีปกติของโครงถักนั้นเราจะมี แป ที่จะทำหน้าที่ในการยึดรั้ง เฉพาะ ที่ด้านบนในส่วนที่เป็น TOP CHORD เพียงเท่านั้นนะครับ ดังนั้นหากเราต้องการที่จะทำการคำนวณหาว่าระยะของ LATERAL BRACING นั้นควรเป็นเท่าใด ก็จะเหลือเพียงแค่ชิ้นส่วนที่เป็น BOTTOM CHORD เพียงเท่านั้นนะครับ

ดังนั้นในเมื่อการคำนวณเรื่อง LATERAL BRACING สำหรับกรณีก็จะเหลือเพียงแค่ชิ้นส่วน BOTTOM CHORD ซึ่งก็จะเหมือนกันกับกรณีของรูปบน แตกต่างกันที่กรณีของรูปล่างนั้นชิ้นส่วนๆ ใหญ่จะทำหน้าที่เป็น TENSION MEMBER ซึ่งหากเราก็จะทำการคำนวณค่า kL/r เพียงแค่ 300 ก็เพียงพอแล้วนะครับ และ ก็จะเหลือเพียงชิ้นส่วนๆ น้อยเท่านั้นนะครับที่จะทำหน้าที่เป็น COMPRESSION MEMBER ซึ่งหากเราก็จะทำการคำนวณโดยวิธีการละเอียด เราก็ต้องใช้ค่า kL’/r เท่ากับ 200 มาใช้นะครับ (เฉพาะชิ้นส่วนที่ได้รับการไฮไลต์ไว้ด้วยสีเหลืองนะครับ) ซึ่งในการที่เราจะต้องทำการคำนวณโดยเปลี่ยนระยะ L ให้เป็น L’ นั้นก็ต้องถือว่ามีความยุ่งยากในระดับหนึ่งเลยนะครับ จากเหตุผลทั้งหมดที่ผมได้ทำการอธิบายไปข้างต้น เราก็จะเห็นได้นะครับว่าการที่เราใช้ค่า kL/r = 250 นั้นถือว่ามีความเหมาะสมเพียงพอ เพราะ จะช่วยให้ขั้นตอนในการคำนวณ และ การออกแบบการค้ำยันทางด้านข้างของตัวโครงถักนั้นมีความสะดวก และ รวดเร็วมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัวเลยนั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com