การเลือกใช้เสาเข็มให้มีขนาดที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากก่อนหน้านี้ผมเคยให้คำอรรถาธิบายไปว่า “หากว่าเราทำการเลือกใช้เสาเข็มให้มีขนาดที่เหมาะสม คือ เสาเข็มสามารถรับ นน บรรทุกได้ สามารถที่จะต้านทานการทรุดตัวในระดับที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ได้ โดยขนาดของเสาเข็มนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีขนาดที่ใหญ่มากจนเกินไปก็จะเป็นการดีที่สุด เพราะ จะช่วยในหลายๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องการประหยัดวัสดุในการก่อสร้างซึ่งในที่สุดจะไปมีผลต่อราคาค่าก่อสร้างโดยรวมนั่นเอง” และได้มีเพื่อนวิศวกรของผมท่านหนึ่งสอบถามผมว่า ได้โปรดช่วยอธิบายประเด็นๆ นี้เพิ่มเติมสักหน่อยจะได้หรือไม่ ?

ในวันนี้ผมจึงได้ตัดสินที่จะนำคำถามนี้มาให้คำอธิบายเพิ่มเติมถึงประเด็นๆ นี้กับเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านก็แล้วกันนะครับ น่าที่จะเป้นข้อมุลที่มีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านได้

โดยในวันนี้ ตย ที่ผมจะนำมาประกอบคำอธิบายเป็นดังนี้นะครับ ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดให้เสาเข็มต้องรับ นน บรรทุกปลอดภัยได้เท่ากับ 35 ตัน/ต้น โดยในตอนแรกได้ทำการกำหนดให้ใช้เสาเข็ม คอร ขนาด ไอ 300 มม เป็นเสาเข็มภายในโครงการก่อสร้าง แต่ ต่อมาเมื่อจะทำการก่อสร้างจริงๆ พบว่าพื้นที่หน้างานไม่สามารถใช้เสาเข็ม คอร ดังกล่าวได้ ทางผู้ออกแบบจึงจำเป็นที่จะต้องทำการออกแบบระบบฐานรากนี้ใหม่ โดยเปลี่ยนมาใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด 230 มม วันนี้เราจะมาคำนวณกันนะครับว่าเมื่อฐานราก F4 นี้เปลี่ยนขนาดของเสาเข็มไปแล้ว จะทำให้สามารถที่จะประหยัดวัสดุเฉพาะที่เป็น คอนกรีต ไปเป็นจำนวนเงินเท่าใดนะครับ หากกำหนดให้ราคา ค่าวัสดุ และ ค่าแรงงาน ของงานคอนกรีตเท่ากับ 2,500 บาท/ลบ.ม และ 350 บาท/ลบ.ม ตามลำดับ และ จำนวนฐานราก F4 ในโครงการนี้เท่ากับ 8 ต้น

มาเริ่มต้นกันที่เข็ม คอร รูปตัวไอ ขนาด 300 มม กันก่อนนะครับ เราจะเริ่มต้นการคำนวณด้วยการหาขนาดความหนาของฐานรากที่เหมาะสมกันก่อนนะครับ คือ ฐานรากจะมีความหนาที่เข้าใกล้สภาพแข็งแกร่ง (RIGID BODY) มากเพียงพอที่จะถ่าย นน จากตอม่อต่อลงไปยังเสาเข็มได้ด้วยความสม่ำเสมอ เราสามารถคำนวณค่าความหนาน้อยที่สุดของฐานรากได้จาก

Tmin = 2Hp + 100 = 2(300) + 100 = 700 มม = 0.70 ม

ผมจึงทำการกำหนดให้ใช้ความหนานี้เท่ากับ 0.70 ม นะครับ ส่วนระยะห่างระหว่างเสาเข็ม และ ระยะขอบก็ใช้เท่ากับ 3D และ D ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ฐานรากมีขนาดความกว้างเท่ากับ 1.50 ม และ ขนาดความยาวเท่ากับ 1.50 ม เช่นกันนะครับ ต่อมาเราจะสามารถทำการคำนวณเงินค่าวัสดุที่เป็นคอนกรีตที่จะใช้ในการทำงานหล่อคอนกรีตทั้งหมดของฐานราก F4 จำนวน 8 ต้นนี้ได้เท่ากับ

Cost = (1.5×1.5×0.7)(2,500+350)(8) = 35,910 บาท

มาต่อกันที่เข็มสปันไมโครไพล์ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 230 มม กันบ้างนะครับ เราจะเริ่มต้นการคำนวณด้วยการหาขนาดความหนาของฐานรากที่เหมาะสมกันก่อนนะครับ คือ ฐานรากจะมีความหนาที่เข้าใกล้สภาพแข็งแกร่ง (RIGID BODY) มากเพียงพอที่จะถ่าย นน จากตอม่อต่อลงไปยังเสาเข็มได้ด้วยความสม่ำเสมอ เราสามารถคำนวณค่าความหนาน้อยที่สุดของฐานรากได้จาก

Tmin = 2Hp + 100 = 2(230) + 100 = 560 มม ≈ 600 มม = 0.60 ม

ผมจึงทำการกำหนดให้ใช้ความหนานี้เท่ากับ 0.60 ม นะครับ ส่วนระยะห่างระหว่างเสาเข็ม และ ระยะขอบก็ใช้เท่ากับ 3D และ D ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ฐานรากมีขนาดความกว้างเท่ากับ 1.20 ม และ ขนาดความยาวเท่ากับ 1.20 ม เช่นกันนะครับ ต่อมาเราจะสามารถทำการคำนวณเงินค่าวัสดุที่เป็นคอนกรีตที่จะใช้ในการทำงานหล่อคอนกรีตทั้งหมดของฐานราก F4 จำนวน 8 ต้นนี้ได้เท่ากับ

Cost = (1.2×1.2×0.6)(2,500)(8) = 19,699 บาท

สรุปนะครับ การที่เราเปลี่ยนขนาดของเสาเข็มจากเสาเข็ม คอร รูปตัวไอ ขนาด 300 มม ไปเป็นเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ขนาด 230 มม จะทำให้ประหยัดค่าคอนกรีตลงไปเท่ากับ 35,910 – 19,699 = 16,211 บาท นั่นหมายความว่าเราสามารถที่จะประหยัดราคาค่า คอนกรีต ได้เท่ากับ

R = 16,211/35,910 x 100 = 45.14%

หากจะดูตัวเลขข้างต้นจะเห็นว่าตัวเลขนี้จะตกเกือบๆ 50% เลยนะครับ นี่ยังไม่นับรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในงานอื่นๆ เช่น ค่อของและค่าแรงของงานไม้แบบ งานเหล็กเสริม เป็นต้น

ดังนั้นหวังว่าเพื่อนๆ จะมองภาพออกแล้วนะครับว่าการที่เราทำการเลือกใช้เสาเข็มให้มีขนาดที่เหมาะสม คือ เสาเข็มสามารถรับ นน บรรทุกได้ สามารถที่จะต้านทานการทรุดตัวในระดับที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ได้ โดยขนาดของเสาเข็มนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องมีขนาดที่ใหญ่มากจนเกินไปก็จะเป็นการดีที่สุด เพราะ จะช่วยในหลายๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องการประหยัดวัสดุในการก่อสร้างซึ่งในที่สุดจะไปมีผลต่อราคาค่าก่อสร้างโดยรวมนั้นเป็นอย่างไรนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com