การทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ใต้พื้นดินลงไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

โดยที่ในวันนี้ผมจะมาทำการอธิบายถึงหัวข้อๆ หนึ่งที่ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ ในการออกแบบโครงสร้างจำพวกที่ทำหน้าที่ในการกันดิน นั่นก็คือ แรงดันดินด้านข้าง หรือ LATERAL EARTH PRESSURE นั่นเองนะครับ

 

ในการวิเคราะห์ การหาค่าสัมประสิทธิ์ และ การหาค่าแรงดันของดินทางด้านข้าง ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการออกแบบโครงสร้างที่ทำหน้าที่เป็นกำแพงกันดินและโครงสร้างกันดินอื่นๆ ดังนั้นทั้งขนาดและทิศทางของแรงดันทางด้านข้างของดินถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นสำหรับการออกแบบโครงสร้างกำแพงกันดินหรือโครงสร้างกันดินต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้โครงสร้างเหล่านี้นั้นมีอัตราส่วนความปลอดภัยที่มากเพียงพอ โดยที่ประเภทของความดันของดินทางด้านข้างนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่

 

1) แรงดันดินทางด้านข้างในสภาพนิ่ง (AT REST EARTH PRESSURE)

 

2) แรงดันดินทางด้านข้างเมื่อดินเคลื่อนตัวดันกำแพง (ACTIVE EARTH PRESSURE)

 

3) แรงดันดินทางด้านข้างเมื่อกำแพงเคลื่อนตัวดันดิน (PASSIVE EARTH PRESSURE)

 

ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 3 หัวข้อจะมีรายละเอียดมากพอสมควร ผมจึงจะขออนุญาตกล่าวถึงทีละหัวข้อๆ เริ่มจาก แรงดันดินทางด้านข้างในสภาพนิ่ง หรือ AT REST EARTH PRESSURE ก่อนก็แล้วกันนะครับ

 

แรงดันดินทางด้านข้างในสภาพนิ่ง หมายถึง ความดันทางด้านข้างที่กระทำต่อผนังโครงสร้างกันดิน โดยที่ผนัง และ มวลดิน นั้นไม่มีการเคลื่อนตัวใดๆ เลย ความดันดินในกรณีเช่นนี้อาจจะเกิดขึ้นได้กับกรณีที่มวลดินถมด้านหลังของกำแพงกันดินนั้นมีความหนามากๆ และ แทบจะไม่เกิดการเคลื่อนตัวของกำแพงเลย ดังนั้นดินที่สัมผัสกับกำแพงกันดินนี้จะไม่ทำให้เกิดความเครียดทางด้านข้างเลย สำหรับกรณีของแรงดันดินแบบนี้ ความดันดินทางด้านข้างจะมีขนาดอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่าง ความดันดินที่สภาวะ แรงดันดินทางด้านข้างเมื่อดินเคลื่อนตัวดันกำแพง และ แรงดันดินทางด้านข้างเมื่อกำแพงเคลื่อนตัวดันดิน นะครับ

 

สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ของความดันดินที่สภาวะอยู่นิ่ง หรือ ที่เรานิยมแทนด้วย Ko ก็คือ อัตราส่วนระหว่างค่าความดันของดินทางด้านข้าง ต่อ ความดันดินในแนวดิ่ง ในพจน์ของความเค้นประสิทธิผล ซึ่งโดยทั่วไปค่า Ko สำหรับดินประเภทต่างๆ จะเป็นดังต่อไปนี้

 

สำหรับดินเหนียวที่มีค่าสัดส่วนการอัดตัว ตามปกติ หรือ NORMALLY CONSOLIDATED RATIO หรือ NCR ค่า Ko จะมีค่าน้อยกว่า 1.00 เสมอ โดยที่ค่า Ko สามารถหาได้จากสมการ

 

Ko (NCR)= 1 –sin Ø’

 

สำหรับดินเหนียวที่มีค่าสัดส่วนการอัดตัว มากกว่าปกติ หรือ OVER CONSOLIDATED RATIO หรือ OCR ค่า Ko อาจจะมีค่าสูงถึง 3.00 ได้เลย โดยที่ค่า Ko สามารถหาได้จากแผนภูมิเส้นจากรูปที่แสดง หรือ คำนวณได้จากสมการ

 

Ko (OCR) = Ko (NCR) ^[√(OCR)]

 

สำหรับดินทรายค่า Ko จะมีกระจุกตัวอยู่ในช่วงแคบๆ เพียงเท่านั้น โดยที่ค่า Ko จะอยู่ระหว่าง 0.40 สำหรับดินทรายที่มีความแน่น และ 0.50 สำหรับดินทรายที่มีความหลวมนะครับ

 

ยังไงสัปดาห์หน้าเราจะมาต่อกันเรื่องแรงดันดินทางด้านข้างประเภทอื่นๆ กันบ้างนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจเป็นพิเศษในเรื่องๆ นี้ก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมได้ต่อไปครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com