หลักการของการบดอัดดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ช่วงนี้ผมมีงานที่เกี่ยวข้องกับการถมดินอยู่หลายตัวเลยนะครับ และ ผมได้สังเกตและพบเห็นว่าเพื่อนร่วมงานหลายๆ คนอาจจะเคยมีข้อสงสัยว่า หากเราทำการถมดินแล้วทำการบดอัดดิน เราจะต้องทำการบดอัดดิน มาก หรือ นาน เท่าใด กว่าที่ดินของเราจะสามารถรับกำลังได้ กว่าที่ดินของเราจะมีค่าการทรุดตัวที่ถือว่าเหมาะสมต่อการรับ นน ของเรา

คำตอบของคำถามข้อนี้ คือ เราก็ควรที่จะต้องทำการทดสอบดินที่เราทำการบดอัดเสียก่อนนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถทราบได้ว่าคุณสมบัติของดินนั้นเป็นอย่างไร โดยการทดสอบดินในลักษณะนี้มีชื่อว่า การทดลองการบดอัดดิน นั่นเองครับ

ดังนั้นในวันนี้ผมจึงตั้งใจจะมาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเรื่อง การทดลองการบดอัดดิน หรือ COMPACTION TEST นะครับ

หลักการของการบดอัดดินง่ายๆ เลยก็คือ ทำการบดอัดดินให้ได้ความแน่นตัวที่สูงตามความต้องการหรือตามจุดประสงค์ของการใช้งาน โดยในการบดอัดเราจะต้องอาศัยน้ำ เป็นตัวประสานเชื่อมมวลดิน แต่ ถ้ามีปริมาณน้ำนั้นมากจนเกินไป น้ำจะไปหุ้มและเคลือบรอบๆ มวลดินอันจะทำให้อณูของเม็ดดินนั้นแยกตัวห่างออกจากกัน หรือ ถ้ามีปริมาณน้ำอยู่น้อยจนเกินไป การประสานเชื่อมกันก็จะไม่ดีเพียงพอที่จะช่วยให้การบดอัดเม็ดดินนั้นเบียดชิดกันเท่าที่ควร

ด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริงดังที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้น เราจึงมีการทดสอบหาความสัมพนัธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์ความชื้นกับความแน่นของดินที่ได้จากการบดอัดในห้องปฏิบัติการซึ่งวิธีการทดสอบวิธีนี้ต้องถือว่าเป็นที่ยอมรับ และ นิยมใช้ทำการทดสอบการบดอัดดินในงานก่อสร้างได้สำหรับงานทั่วๆ ไปได้ ซึ่งวิธีการนี้มีชื่อว่าการทดสอบมาตรฐาน หรือ STANDARD PROCTOR TEST โดยเฉพาะการทดสอบเพื่อที่จะทำการควบคุมงานที่เกี่ยวข้องกับการบดอัดดินโดยตรง เช่น การก่อสร้างงานถนน สนามบิน เขื่อนดิน พื้นโรงงาน เป็นต้น

สืบเนื่องจากในยุคปัจจุบันนั้นยานพาหนะต่างๆ ที่มีการใช้งานเพื่อการขนส่งนั้นได้มีการวิวัฒนาการไปมากจนมีขนาดที่ใหญ่โตขึ้นมาก สามารถที่จะบรรทุกน้ำหนักได้เพิ่มมากขึ้นอีกหลายเท่าตัว ดังนั้นพลังงานที่เราจำเป็นจะต้องใช้ในการบดอัดดินของเราก็จำเป็นที่จะต้องเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยนะครับ เราจึงได้มีการกำหนดวิธีทดสอบการบดอัดดินโดยการเพิ่มพลังงานให้สูงยิ่งขึ้นเพื่อที่จะทำให้ดินนั้นมีความแน่นตัวที่สูง สามารถที่จะรับน้าหนักได้มากยิ่งขึ้น เราเรียกวิธีการนี้ว่าวิธีการทดสอบแบบปรับแก้ หรือ MODIFIED PROCTOR TEST

สำหรับการบดอัดดินในพื้นที่จริงนั้นพลังงานที่ต้องใช้ในการบดอัดดินนั้นก็เปรียบได้กับจำนวน ครั้ง ที่เครื่องจักรที่ใช้ในการบดอัดนั้นวิ่งผ่าน แต่ สำหรับในห้องปฏิบัติการนั้นจะถูกเปลี่ยนมาเป็นจำนวนครั้งในการกระทุ้ง โดยค่าพลังงานในการบดอัดนั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยเลยนะครับ เช่น น้ำหนักของค้อนที่ทำใช้ทำการกระทุ้ง ตย ดินที่นำมาทดสอบ ความสูงของระยะปล่อย จำนวนชั้นของการบดอัด จำนวนครั้งที่กระทุ้งต่อชั้น และ ปริมาตรของโมลที่ใช้ทดสอบ เป็นต้นนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com