ปัญหาตำแหน่งในการวางโครงสร้างคานยึดรั้ง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ

ตามที่ผมได้เรียนเพื่อนๆ ไปตั้งแต่ในสัปดาห์ที่แล้วว่าในสัปดาห์นี้ผมจะขอนำเอาหลักการสำคัญๆ และข้อพึงระวังในการออกแบบโครงสร้างคาน TIED BEAM มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนและก็บังเอิญจริงๆ ว่าได้เพื่อนวิศวกรร่วมสถาบันในอดีตของผมท่านหนึ่งได้ให้ความกรุณาสอบถามผมเข้ามาว่า

 

“สำหรับกรณีที่เราต้องการที่จะทำการก่อสร้างโครงสร้างที่เป็นคาน TIED BEAM เราควรที่จะทำการวางตำแหน่งของคาน TIED BEAM นี้ที่ตำแหน่งใดจะเป็นการดีที่สุดระหว่าง การวางคาน TIED BEAM ให้มีความลึกอมเข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของฐานราก กับ การวางคาน TIED BEAM ให้อยู่พ้นเหนือฐานรากขึ้นมา ?”

 

ก่อนอื่นผมต้องขอเรียนกับเพื่อนของผมท่านนี้รวมถึงเพื่อนๆ ทุกคนด้วยว่าจริงๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามที่มีความน่าสนใจมากๆ เพราะหลายๆ ครั้งเลยที่เราจะพบได้ว่าคำถามข้อนี้มักจะเป็นข้อถกเถียงกันในบรรดาหมู่วิศวกรโครงสร้าง ดังนั้นผมจึงต้องขออนุญาตออกตัวเอาไว้ก่อนเลยว่า คำตอบและข้อแนะนำของผมที่จะให้ไว้ในโพสต์ๆ นี้เป็นเพียงประสบการณ์และทัศนะความคิดเห็นส่วนตัวของผมเพียงเท่านั้น หากว่ามีเพื่อนๆ ท่านใดที่มีแนวความคิดเป็นอย่างอื่น ก็ขอเชิญให้เพื่อนๆ มาร่วมกันเสวนาและแชร์ความรู้ร่วมกันใต้โพสต์นี้ได้เลยนะครับ

 

ผมจะขอตอบคำถามข้อนี้ก่อนก็แล้วกันนั่นก็คือ ผมมีความคิดเห็นว่า ตำแหน่งในการวางตัวของโครงสร้างคาน TIED BEAM นั้น จะวางตัวอยู่ที่ตำแหน่งใดๆ ก็ได้ ถ้าหากว่าโครงสร้างคาน TIED BEAM นั้นๆ ของเราได้ทำ “หน้าที่” ของมันอย่างสมบูรณ์แล้ว …

 

ไม่งงกันใช่หรือไม่ครับ ?

 

เอาละ เราคงที่จะต้องทำการมองย้อนกลับไปเสียก่อนว่า หน้าที่จริงๆ ของโครงสร้างคาน TIED BEAM นั้นมันคืออะไรกันแน่ ?

 

โครงสร้าง TIED BEAM ก็คือ โครงสร้างที่จะต้องทำหน้าที่ในการ ถ่ายน้ำหนัก จากตัว โครงสร้างตอม่อ ผ่านไปลงยัง โครงสร้างฐานราก ดังนั้นจะว่าไปแล้วการจะทำให้ผลตอบสนองและพฤติกรรมโดยรวมต่างๆ ของโครงสร้างที่อยู่ที่ด้านบนของตัวโครงสร้างฐานรากนี้ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐานเดิมที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในครั้งแรก นั่นก็เท่ากับว่าตัวโครงสร้างคาน TIED BEAM เองก็จะต้องมีคุณสมบัติเสมือนกับเป็นตัวโครงสร้างฐานรากด้วย ถูกต้องหรือไม่ครับ ?

 

ใช่แล้วครับ เราจะต้องมาดูกันก่อนว่าคุณสมบัติที่มีความสำคัญและสมมติฐานตอนที่ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบโครงสร้างฐานรากเอาไว้นั้นเป็นเช่นใด ซึ่งโดย “ทั่วไป” แล้วโครงสร้างฐานรากมักจะต้องเป็นโครงสร้างที่มีพฤติกรรมเป็น โครงสร้างวัตถุแข็งเกร็ง หรือ ในภาษาอังกฤษเรามักจะเรียกแทนด้วยคำว่า RIGID BODY STRUCTURE กล่าวคือ ตัวโครงสร้างฐานรากเองจะต้องมีคุณสมบัติความแข็งแรงที่ค่อนข้างจะมาก ทั้งนี้จะมีความแข็งแกร่งที่มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของ BOUNDARY CONDITIONS ที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ให้แก่จุดรองรับของโครงสร้างตอนที่ได้ทำการออกแบบ ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบเลย เช่น จุดรองรับแบบสปริง จุดรองรับแบบยึดหมุน จุดรองรับแบบยึดแน่น เป็นต้น

 

ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำการวางคาน TIED BEAM ให้มีความลึกอมเข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของฐานรากหรือทำการวางคาน TIED BEAM ให้อยู่พ้นเหนือฐานรากขึ้นไป ถ้าหากว่าค่าความแข็งแกร่งหรือ STIFFNESS หรือค่าความแข็งเกร็งหรือ RIGIDITY ของตัวโครงสร้างคาน TIED BEAM ของเรานั้นมีค่าข้างต้นอยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันกับลักษณะของ BOUNDARY CONDITIONS ที่ผู้ออกแบบได้กำหนดเอาไว้ แค่นั้นก็เป็นการเพียงพอแล้ว

 

ซึ่งหากเราดูความแตกต่างระหว่างการวางคานให้มีความลึกอมเข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของฐานรากกับการวางคานให้อยู่พ้นเหนือฐานราก เราก็จะเห็นได้ว่าการวางคานทั้ง 2 รูปแบบข้างต้นนั้นจะทำให้เกิดค่า STIFFNESS ในอัตราส่วนที่มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผมจะไม่ขอระบุหรือฟันธงใดๆ ว่าการวางตัวของคานแบบใดถึงจะเหมาะสมสำหรับการก่อสร้างโครงสร้าง TIED BEAM เพราะว่า ผู้ออกแบบมี “สิทธิ” และ “โอกาส” ในการที่จะกำหนดให้ลักษณะของจุดรองรับหรือตัวโครงสร้างฐานรากนั้นเป็นแบบ สามารถที่จะให้ตัวได้ (FLEXIBLE) หรือเป็นแบบ ไม่สามารถที่จะให้ตัวได้ (RIGID) ก็ได้ ขอเพียงแค่เราสามารถที่จะพิสูจน์ออกมาให้ได้ว่า การกำหนดตำแหน่งการวางตัวของโครงสร้างคาน TIED BEAM ของเรานั้นจะไม่ทำให้พฤติกรรมโดยรวมของโครงสร้างที่อยู่ด้านบนของตัวโครงสร้างส่วนฐานรากนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐานเดิมที่ได้ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในครั้งแรก แค่นั้นก็ถือว่าตำแหน่งนั้นๆ ใช้ได้แล้วละครับ

 

เป็นอย่างไรบ้างครับ ผมต้องกราบขออภัยด้วยที่ได้ใช้พื้นที่ภายในโพสต์ๆ นี้ในการตอบคำถามข้อนี้ไปเสียยืดยาวเลย เอาเป็นว่าในสัปดาห์หน้าผมจะขอนำเอาหลักการสำคัญๆ และข้อพึงระวังในการออกแบบโครงสร้าง TIED BEAM มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนต่อกันอีกสักสัปดาห์หนึ่งก็แล้วกันนะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถที่จะติดตามรับชมและอ่านบทความเรื่องนี้ของผมได้ในสัปดาห์หน้านะครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ปล ผมต้องขอขอบคุณและขออนุญาตทางเจ้าของรูปภาพรูปนี้ทีทางเจ้าของได้ทำการเผยแพร่เอาไว้ทางอินเตอร์เน็ตเพื่อนำมาใช้ประกอบในโพสต์ๆ นี้ด้วยนะครับ

#ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

#ปัญหาตำแหน่งในการวางโครงสร้างคานยึดรั้ง

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com