การคำนวณวิเคราะห์หาค่ากำลังรับโมเมนต์ดัดระบุของหน้าตัดคาน คสล รูปตัว T คว่ำ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการยก ตย การคำนวณวิเคราะห์หาค่ากำลังรับโมเมนต์ดัดระบุของหน้าตัดคาน คสล รูปตัว T คว่ำให้เพื่อนๆ ได้รับชมกันต่อนะครับ โดยที่เมื่อวานผมได้แบ่งกรณีของการยก ตย ออกเป็นทั้งหมด 2 กรณีด้วยกันดังนี้ครับ

ผมมีคาน คสล ดังรูป โดยจะกำหนดให้ใช้

fc’= 280 KSC

fy = 4,000 KSC

จงทำการคำนวณหาค่ากำลังต้านทานโมเมนต์ดัดของหน้าตัดที่มีการเสริมเหล็กแบบ SINGLY REINFORCED ว่ามีค่าเท่ากับเท่าใด ?

 

โดยที่ในวันนี้เราจะมาทำการคำนวณหาของ CASE ที่ 2 กันต่อนะครับและเหมือนเดิมนะครับ เราจะเริ่มจากหาคุณสมบัติต่างๆ ในการวิเคราะห์หน้าตัดเสียก่อนนะครับ

 

สำหรับคอนกรีตที่มี fc’ = 280 KSC

β1 = 0.85

tf = 10 CM

bw = 35 CM

b = 20 CM

d = 45 CM

 

m = 4,000/(0.85X280)

m = 16.81

 

P min = 14/4,000

P min = 0.0035

 

As min = 0.0035X20X45

As min = 3.15 CM^(2)

 

P max = 0.75X0.85X6120/[16.81X(6120+4,000)]

P max = 0.0229

 

As max = 0.0229X20X45

As max = 20.64 CM^(2)

 

As actual = 3X4.91

As actual = 14.73 CM^(2)

 

ในเมื่อ As min < As actual < As max ดังนั้นการวิบัติของคาน คสล นี้ก็ยังจะเป็นไปในรูปแบบ DUCTILE FAILURE เหมือนใน CASE ที่ 1 นะครับ

 

a = 14.73X4,000/(0.85X280X20)

a = 12.38 CM

 

เมื่อเราทำการตรวจสอบดูแล้วพบว่าค่า a ดังกล่าวนี้จะมีขนาดที่มากกว่าระยะความหนาของส่วนปีกคานด้านบน (TOP FLANGE) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 10 CM ดังนั้นในขั้นตอนของการคำนวณหาค่ากำลังรับโมเมนต์ดัดของคาน คสล นี้ เราจะไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีการทั่วๆ ไปได้นะครับ

 

วิธีในการแก้ปัญหาหากว่าเราพบเจอกรณีแบบนี้คือ เราจะทำการคำนวณโดยหลักการสมดุลของแรงภายในของหน้าตัด ทั้งนี้แรงดังกล่าวจะมี 2 แรงด้วยกัน นั่นก็คือ แรงอัดในคอนกรีต หรือ Cc และ แรงดึงในเหล็ก หรือ Ts โดยที่ค่า Cc เราจะให้ติดตัวแปรอยู่ในรูปของค่าพื้นที่หน้าตัดด้านรับแรงอัด หรือ Ac นั่นเองนะครับ โดยเราจะสามารถทำคำนวณค่าๆ นี้ได้จาก

 

Cc = 0.85 fc’ Ac

Cc = 0.85X280XAc

Cc = 238 Ac

 

Ts = As fy

Ts = 14.73X4,000

Ts = 58,920 KGF

 

จากนั้นเราก็นำทั้ง 2 แรงข้างไปเข้าสมการสมดุล นั่นก็คือ

 

Cc = Ts

238 Ac = 58,920

Ac = 58,920 / 238

Ac = 247.56 CM^(2)

 

พอคำนวณค่า Ac เสร็จเราจะทราบดีว่าจะต้องมีพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตอย่างน้อย 2 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนปีกคานด้านบน ซึ่งเราทราบอยู่แล้วว่าจะมีพื้นที่เท่ากับ

 

Ac1 = 20X10

Ac1 = 200 CM^(2)

 

และ ส่วนคานด้านล่าง ซึ่งเราสามารถจะคำนวณได้จาก

 

Ac = Ac1 + Ac2

Ac2 = Ac – Ac1

Ac2 = 247.56 – 200

Ac2 = 47.56 CM^(2)

 

เมื่อเราทราบว่า Ac2 มีค่าเท่ากับเท่าใด ต่อไปเราก็จะสามารถคำนวณได้แล้วนะครับว่า ความลึกของพื้นที่ Ac2 นั้นจะมีค่าเท่ากับ

 

Ac2 = B2 X T2

47.56 = 35 X T2

T2 = 47.56 / 35

T2 = 1.36 CM

 

พอเราทราบทุกๆ ค่านี้ต่อไปเราก็จะสามารถทำการคำนวณหา CG ระหว่าง แรงอัด และ แรงดึง ได้จาก

 

∑(A y) = 200X(10/2+35) + 47.56X(35-1.36/2)

∑(A y) = 9,632.26 CM^(3)

 

∑(A) = 200+47.56

∑(A) = 247.56 CM^(2)

 

Y = ∑(A y) / ∑(A)

Y = 9,632.26 / 247.56

Y = 38.91 CM

 

สุดท้ายพอเราทราบว่าระยะ Y มีค่าเท่าใด เราก็จะแทนค่าๆ นี้ลงไปแทนพจน์ d – a/2 ในสมการหาค่ากำลังรับแรงดัดของหน้าตัดได้เลยนะครับ ดังนั้นจะได้ว่า

 

ØMn = Ø As fy (d – a/2)

ØMn = Ø As fy Y

ØMn = 0.90X14.73X4,000X38.91

ØMn = 2,063,000 KGF-CM

ØMn = 20.63 T-M

 

พอผมพูดมาถึงตรงนี้เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนคงจะมีความคิดว่า หากไม่ต้องการที่จะยุ่งยากขนาดนี้เราจะทำการคำนวณเหมือนใน CASE ที่ 1 ได้เลยหรือไม่ ?

 

ผมก็จะขอตอบว่า ได้ นะครับ แต่ คำตอบที่ได้นั้นจะไม่ใช่ค่ากำลังรับแรงดัดจริงๆ ที่หน้าตัดจะสามารถรับได้นะครับ เอาเป็นว่าผมจะทำการคำนวณให้ดูก็แล้วกันนะครับว่าผลจะเป็นอย่างไร

 

ØMn = Ø As fy (d – a/2)

ØMn = 0.90X14.73X4,000X(45-12.38/2)

ØMn = 2,058,000 KGF-CM

ØMn = 20.58 T-M

 

จะเห็นได้ว่าค่าที่คำนวณได้จากสมการล่าสุดนั้นจะมีค่าน้อยกว่าค่ากำลังรับแรงดัดจริงๆ ของหน้าตัดอยู่เพียงเล็กน้อย แต่ นั่นก็เป็นเพราะว่าใน ตย ข้อนี้ของผม ค่า T2 ที่เราคำนวณได้จะมีค่าเท่ากับ 1.36 CM ซึ่งมีค่าน้อยมากๆ เลยนะครับ ดังนั้นหากค่าๆ นี้มีค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปเท่าใด ก็จะทำให้คำตอบนั้นยิ่งเพี้ยนเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นเพราะว่า ระยะแขนของโมเมนต์ หรือ LEVER ARM จากพจน์ d – a/2 จะมีค่าเท่ากับ

 

Y = 45 – 12.38/2

Y = 38.81 CM

 

ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่าระยะจริงๆ คือ 38.91 CM อยู่เพียงเล็กน้อยนั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com