การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

 

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง เหล็ก (STRUCTURAL STEEL ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

ผมเชื่อเหลือเกินว่าในทุกๆ ครั้งที่เพื่อนๆ นั้นนั่งอ่านแบบวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก จะต้องอ่านแบบ ที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ของจุดต่อของโครงสร้าง (STRUCTURAL CONNECTIONS) แล้วก็คงจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับว่า เหตุใดสัญลักษณ์ที่ใช้ในการทำจุดต่อแบบรอยเชื่อม (WELDING CONNECTIONS) ที่แทนอยู่ในรูปของ “T” (ตามรูปที่แนบมาด้วย) จึงมักที่จะเขียนระบุลงไปในแบบว่า E60 หรือ E70 ?

 

วันนี้ผมจะมาทำการอธิบายและแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ

 

เจ้าสัญลักษณ์ E60 หรือ E70 นี้จริงๆ แล้วก็คือ สัญลักษณ์ที่มีเอาไว้เพื่อระบุกำลังของลวดเชื่อมนั่นเอง โดยที่กำลังของเจ้าลวดเชื่อมเกรด E60 นั้นจะมีค่า F(Exx) = 4200 ksc และ E70 นั้นจะมีค่า F(Exx) = 4900 ksc

 

โดยที่มาตรฐานของสมาคมการเชื่อมแห่งประเทศสารัทธ์อเมริกา หรือ AMERICAN WELDING SOCIETY (ASW) ได้ทำการ กำหนดชนิดของลวดเชื่อมที่ต้องใช้คู่กันกับเหล็กโครงสร้างชนิดต่างๆเอาไว้ดังนี้

 

สำหรับเกรด E60 กำหนดให้ใช้กับเหล็กโครงสร้างที่มีกำลังดึงที่จุดครากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2940 ksc เช่น เหล็กเกรด A7 ที่มีค่า Fy = 2310 ksc หรือ เหล็กเกรด A36 ที่มีค่า Fy = 2520 ksc เป็นต้น

 

สำหรับเกรด E70 กำหนดให้ใช้กับเหล็กโครงสร้างที่มีกำลังดึงที่จุดครากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3850 ksc เช่น เหล็กเกรด A572 ที่มีค่า Fy = 3500 ksc เป็นต้น

 

ยังไงในโอกาสต่อๆ ไปผมจะขออนุญาตมาทำการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องขั้นตอนและวิธีการออกแบบต่างๆ รวมไปถึงวิธีในการทำงานในขั้นตอนต่างๆ ของการทำงานรอยเชื่อมตามมาตรฐาน AISC และ ASW หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่มีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านบทความของผมเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้ได้ต่อไปครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

 

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com